Pasalao

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ບາງຂໍ້ສັງເກດກ່ຽວກັບສິລາຈາລຶກຣາມຄຳແຫງ
Anonymous

Date:
ບາງຂໍ້ສັງເກດກ່ຽວກັບສິລາຈາລຶກຣາມຄຳແຫງ


33408_BailaneRamkhamhaengInst.A9copy.jpg



__________________
Anonymous

Date:

ไม่แปลกหลอกครับ เรื่องตัดหิน คนสมัยก่อนมีความชำนานมาตั่งแต่สมัยทวาราวดีแล้ว และสุโขทัยก็ได้รับอิทธิพลหลายๆอย่างจากทวารวดีไปเยอะ เช่นขุดคูเมือง

สร้างกำแพงเมืองด้วยอิฐ การตัดหินในสมัยหลังมาถือว่าง่ายมากดูได้จากการสลักหินแกรนิตในสมัยศรีวิชัย ก็สามรถทำได้แล้ว แล้วในสมัยสุโขทัย กับแค่หินชนวน

ถือว่าเป็นหินเนื้ออ่อน ยิ่งสบายกว่าหลายเท่าครับ ในประเทศไทยยุคก่อนประวัติศาสตร์จะเห็นการสลักหินให้เป็นรูปร่างที่แข็งกว่าหินชนวน พบได้มากมาย อย่าคิดว่า

คนสมัยก่อนโง่นะครับ ดูอย่างปราสาทหินที่ใหญ่กว่า ศิลาจารึกมากนักยังคำนวนทิศได้อย่างแม่นยำ การสร้างสมดุลของเจดีก่ออิฐต่างๆยังทำได้แม่นยำ กับแค่ก้อนหิน

4เหลียมเล็กทำไม่ได้ก็แปลกแล้วครับ



__________________
Anonymous

Date:

ผมมาต่อเรื่องการวิวัฒนาการของตัวอักษรในภาษาไทยกันนะครับ หลังจากพ่อขุนรามคิดตัวอักษรขึ้นมาแล้วก็มีการเปลียนแปลงอีกเลื่อยๆ

ราว พ.ศ.๑๙๐๐ พระยาลิไทยแห่งอาณาจักรสุโขทัย พัฒนาระบบอักขรวิธีอักษรไทยโดยวางสระไว้รอบทั้งในบรรทัดและด้านบน ล่าง ของพยัญชนะ เรียกว่า “อักษรสมัยพระยาลิไทย” จากนั้นจึงแพร่กระจายเข้าไปในภาคเหนือ และปะปนกับ “อักษรยวน” กลายเป็น “อักษรธรรมล้านนา” บันทึกวรรณกรรมเกี่ยวกับศาสนา  และ “อักษรฝักขาม” บันทึกวรรณกรรมทางโลก แล้วแพร่กระจายต่อไปยังอาณาจักรล้านช้าง (ลาว) และภาคอิสาน เรียกว่า “อักษรธรรมอิสาน” บันทึกเรื่องทางธรรม และ “อักษรไทยน้อย” บันทึกเรื่องทางโลก อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของ “อักษรลาวปัจจุบัน” อีกด้วย นับแต่นี้ไป วัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา พระสงฆ์มีหน้าที่สอนหนังสือ

large_la.jpg?1310797100

 

อาณาจักรอยุธยา สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช รูปสัณฐานตัวอักษรเปลี่ยนแปลงเป็นทรงเหลี่ยม เส้นตรงหักเหลี่ยมย่อมุม เรียกว่า “อักษรไทยย่อ” ใช้ในเอกสาราชการ ลักษณะตัวอักษรคล้ายปัจจุบัน เกิดหนังสือแบบเรียน“จินดามณี” มีสระครบทุกตัว วรรณยุกต์ ๒ รูป คือ เอก โท ในสมัยอยุธยาตอนปลาย พยัญชนะครบ ๔๔ ตัว

large_ko.jpg?1310797209

ในรัชกาลที่ ๖ พระองค์ทรงได้เสนอปรับปรุงอักขระวิธีอีการไทยเรียกว่า “อักขรวิธีแบบใหม่” นำรูปแบบอักขรวิธีแบบตะวันตกมาประยุกต์โดยวางสระประสมกันไม่ตรงเสียง วางตัวพยัญชนะติดกันเป็นพืดไม่เว้นวรรค ไม่มีสระกำกับการออกเสียง แต่ไม่ได้ใช้เป็นราชการ

พ.ศ. ๒๔๘๕ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ใช้อำนาจผู้นำเปลี่ยนแปลงอักขระวิธีไทย โดยตัดตัวอักษรที่มีเสียงซ้ำออกไป ๑๓ ตัว ตัดสระออกไป ๕ ตัว ประกาศให้เป็นตัวหนังสือของทางราชการ และเลิกใช้เมื่อหมดอำนาจในปี พ.ศ. ๒๔๘๗

large_pp.jpg?1310799024

พ.ศ. ๒๔๗๘ เป็นต้นมา อักษรไทยก็เข้าสู่รูปแบบปัจจุบัน

อันนี้เป็นเพียงข้อมูลแบบย่อๆ แต่จริงๆเรื่องมันยาวกว่านี้เยอะ โดยเฉพาะช่วงอยุธยาจนถึงรัชการที่6

 



__________________
Page 1 of 1  sorted by
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard