ไม่แปลกหลอกครับ เรื่องตัดหิน คนสมัยก่อนมีความชำนานมาตั่งแต่สมัยทวาราวดีแล้ว และสุโขทัยก็ได้รับอิทธิพลหลายๆอย่างจากทวารวดีไปเยอะ เช่นขุดคูเมือง
สร้างกำแพงเมืองด้วยอิฐ การตัดหินในสมัยหลังมาถือว่าง่ายมากดูได้จากการสลักหินแกรนิตในสมัยศรีวิชัย ก็สามรถทำได้แล้ว แล้วในสมัยสุโขทัย กับแค่หินชนวน
ถือว่าเป็นหินเนื้ออ่อน ยิ่งสบายกว่าหลายเท่าครับ ในประเทศไทยยุคก่อนประวัติศาสตร์จะเห็นการสลักหินให้เป็นรูปร่างที่แข็งกว่าหินชนวน พบได้มากมาย อย่าคิดว่า
คนสมัยก่อนโง่นะครับ ดูอย่างปราสาทหินที่ใหญ่กว่า ศิลาจารึกมากนักยังคำนวนทิศได้อย่างแม่นยำ การสร้างสมดุลของเจดีก่ออิฐต่างๆยังทำได้แม่นยำ กับแค่ก้อนหิน
4เหลียมเล็กทำไม่ได้ก็แปลกแล้วครับ
ผมมาต่อเรื่องการวิวัฒนาการของตัวอักษรในภาษาไทยกันนะครับ หลังจากพ่อขุนรามคิดตัวอักษรขึ้นมาแล้วก็มีการเปลียนแปลงอีกเลื่อยๆ
ราว พ.ศ.๑๙๐๐ พระยาลิไทยแห่งอาณาจักรสุโขทัย พัฒนาระบบอักขรวิธีอักษรไทยโดยวางสระไว้รอบทั้งในบรรทัดและด้านบน ล่าง ของพยัญชนะ เรียกว่า “อักษรสมัยพระยาลิไทย” จากนั้นจึงแพร่กระจายเข้าไปในภาคเหนือ และปะปนกับ “อักษรยวน” กลายเป็น “อักษรธรรมล้านนา” บันทึกวรรณกรรมเกี่ยวกับศาสนา และ “อักษรฝักขาม” บันทึกวรรณกรรมทางโลก แล้วแพร่กระจายต่อไปยังอาณาจักรล้านช้าง (ลาว) และภาคอิสาน เรียกว่า “อักษรธรรมอิสาน” บันทึกเรื่องทางธรรม และ “อักษรไทยน้อย” บันทึกเรื่องทางโลก อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของ “อักษรลาวปัจจุบัน” อีกด้วย นับแต่นี้ไป วัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา พระสงฆ์มีหน้าที่สอนหนังสือ
อาณาจักรอยุธยา สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช รูปสัณฐานตัวอักษรเปลี่ยนแปลงเป็นทรงเหลี่ยม เส้นตรงหักเหลี่ยมย่อมุม เรียกว่า “อักษรไทยย่อ” ใช้ในเอกสาราชการ ลักษณะตัวอักษรคล้ายปัจจุบัน เกิดหนังสือแบบเรียน“จินดามณี” มีสระครบทุกตัว วรรณยุกต์ ๒ รูป คือ เอก โท ในสมัยอยุธยาตอนปลาย พยัญชนะครบ ๔๔ ตัว
ในรัชกาลที่ ๖ พระองค์ทรงได้เสนอปรับปรุงอักขระวิธีอีการไทยเรียกว่า “อักขรวิธีแบบใหม่” นำรูปแบบอักขรวิธีแบบตะวันตกมาประยุกต์โดยวางสระประสมกันไม่ตรงเสียง วางตัวพยัญชนะติดกันเป็นพืดไม่เว้นวรรค ไม่มีสระกำกับการออกเสียง แต่ไม่ได้ใช้เป็นราชการ
พ.ศ. ๒๔๘๕ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ใช้อำนาจผู้นำเปลี่ยนแปลงอักขระวิธีไทย โดยตัดตัวอักษรที่มีเสียงซ้ำออกไป ๑๓ ตัว ตัดสระออกไป ๕ ตัว ประกาศให้เป็นตัวหนังสือของทางราชการ และเลิกใช้เมื่อหมดอำนาจในปี พ.ศ. ๒๔๘๗
พ.ศ. ๒๔๗๘ เป็นต้นมา อักษรไทยก็เข้าสู่รูปแบบปัจจุบัน
อันนี้เป็นเพียงข้อมูลแบบย่อๆ แต่จริงๆเรื่องมันยาวกว่านี้เยอะ โดยเฉพาะช่วงอยุธยาจนถึงรัชการที่6