Pasalao

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: Good article to read: ไทย-ลาว การสร้างความหมายทางเชื้อชาติ
Anonymous

Date:
Good article to read: ไทย-ลาว การสร้างความหมายทางเชื้อชาติ


1. ไทย/ลาว การสร้างความหมายทางเชื้อชาติ

ภาคเหนือ (หรือล้านนา) ในอดีตถูกมองว่าเป็นเมืองต่างชาติต่างภาษา เป็นเมือง “ลาว” ที่มีวัฒนธรรม วิถีชีวิต การเมืองการปกครองที่ต่ำกว่าสยามที่เป็น “ไทย” โดยชนชั้นนำสยามจะรับรู้ว่าเมืองทางภาคเหนือเป็นเมือง “ลาวพุงดำ”

มีการจำแนกแยกแยะ “ลาว” ออกเป็นหลายกลุ่ม โดยกลุ่มใหญ่ ๆ คือลาวพุงขาว คือ ลาวในหลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ และภาคอีสานของไทย โดยลาวในกลุ่มนี้จะไม่มีการสักตามร่างกาย ส่วนลาวพุงดำ คือ ลาวในภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน เหตุที่เรียกลาวพุงดำเพราะนิยมสักร่างกายเป็นลายต่างๆตั้งแต่สะดือจนถึงหัวเข่า ปาลกัวซ์กล่าวว่า “…การสักมีอยู่ทั่วไปในหมู่ลาวพุงดำ ส่วนลาวพุงขาวจะไม่นิยมสัก การสัก คือ การจารึกลงบนเนื้อให้เป็นรูป หมี เสือ ช้าง…”

นอกจากการสักและทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่แบ่งแยกระหว่าง “ไทย” และ “ลาว”แล้ว ภาษาพูดก็เป็นสิ่งจำแนกแยกแยะระหว่างความเป็นไทยและความเป็นลาว โดยคนลาวในภาคเหนือจะใช้ภาษา “คำเมือง” ในการติดต่อสื่อสาร ที่มีสำเนียง และคำศัพท์แตกต่างจากภาษา “ไทย” (ภาษากลางในปัจจุบัน) รวมถึงการมีตัวอักษรเป็นของตนเอง ที่เรียกว่า อักษรธรรม หรือตัวเมือง ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างไทย กับลาว เป็นคนละภาษา สยามในยุคต้นรัตนโกสินทร์จึงรับรู้ว่าเมืองประเทศราชทางเหนือเป็นเมืองลาว เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษา และเรียกเจ้าเมือง ผู้ปกครองว่า “…แสนท้าวพญาลาว…” หรือ “เจ้าลาว”

 

ลาวในที่นี้เป็น “ลาว” ที่มีวัฒนธรรมที่ด้อยกว่าสยาม หรือ “ไทย” โดยสยามรับรู้ว่าลาวด้อยกว่า และมีนิสัยที่ไม่ดี ขี้เกียจ ขี้ขลาด อยากได้ของของผู้อื่น และไม่อยากเสียของของตน ความเป็น “ลาว” และการรับรู้ “ความเป็นลาว” จึงไม่ได้เกิดขึ้นอย่างลอยๆ แต่เกิดภายใต้เงื่อนไขของพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคมของสยาม ที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจเข้าสู่การค้าในระบบตลาดตั้งแต่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านโลกทัศน์ของคนชั้นนำในสยาม

จนทำให้เกิดมุมมองต่อ “ความเป็นลาว” ด้อยกว่า “ความเป็นไทย” เพราะ “ความเป็นลาว” หรือหัวเมืองทางฝ่ายเหนือยังอยู่ในระบบการผลิตเพื่อยังชีพอยู่มิใช่การผลิตเพื่อขายอย่างสยาม ทำให้โลกทัศน์ และระบบคิดยังอยู่ใน “ระบบจารีต” จึงถูกรับรู้ว่าด้อยกว่าสยาม ดังปรากฏในหนังสือกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 4 ของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท แม่ทัพใหญ่คราวสงครามเชียงตุงในสมัยรัชการที่ 4 ว่า

“…พวกลาวนายหนึ่งคุมไพร่ร้อยหนึ่งสองร้อยก็จริง ก็แต่ว่าขี้ขลาดนัก ได้ยินเสียงปืนหนาไม่ได้ หลีกเลี่ยงหลบเหลี่ยมไป…” หรือ“…นิสัยลาวมากไปด้วยความเกียจคร้านโดยธรรมดาประเพณีบ้านเมือง ถึงจะทำไร่นาสิ่งใด ถ้าแดดร้อนเข้าต้องหยุดก่อน ต่อเย็นจึงจะทำ เดินทางสายน่อยหนึ่งก็ต้องหยุด เย็นๆจึงจะไป ไม่ได้รับความลำบากยากเลย …

ครั้นพระยาราชสุภาวดี…ขึ้นไปอยู่เมืองน่านครั้งก่อน ลาวก็บ่นแทบทุกคน ว่าต้องเสียเงินเสียทองเป็นเบี้ยเลี้ยงแทบจะหมดบ้านหมดเมือง…ด้วยนิไสยสันดานลาวนั้นมีอยู่ ๓ อย่าง เปนแต่อยากได้ของเขา ไม่อยากเสียของให้แก่ใคร กับเกียจคร้านเท่านั้น เหมือนกันตั้งแต่เมืองเชียงใหม่ตลอดไปทุกบ้านทุกเมือง…”

นอกจาก “ลาว”จะมีนิสัยสันดานที่ไม่ดีตามการรับรู้ของสยามแล้ว ชนชาติลาวยังเป็นชนชาติที่ต่ำช้า ไม่มีการรักชาติรักสกุล เป็นกลุ่มชนที่เห็นแก่เงิน ไม่มีสติปัญญาในการคิดการต่างๆ ดังกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ว่า “…(ลาว:ผู้เขียน) ไม่เหมือนชาติภาษาอื่นๆที่จะต่ำช้าเหมือนภาษาลาวไม่มี ไม่รักชาติรักสกุล ถ้าใครมีเงินสักสองชั่งสามชั่งขอบุตรเจ้าเมืองอุปราชราชวงษ์เปนภรรยาก็ได้ ไม่ว่าไพร่ว่าผู้ดี ไม่ถือว่าจีนว่าไทย เอาแต่มีเงิน ถ้าใครได้บุตรเจ้าเปนภรรยาก็ยกย่องคนนั้นขึ้นเปนเจ้าด้วย ลาวไม่มีสติปัญญาตรึกตรองระวังหลังหามิได้…”

“ลาว” ในการรับรู้ของสยามในที่นี้มิใช่เพียงในแง่ของชนชาติ หรือภาษาที่แตกต่างจากสยามหรือ “ไทย”เท่านั้น แต่หมายถึงกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมที่ด้อยกว่า “ไทย” และเป็นกลุ่มชนที่โง่เขลา หยาบช้า ไม่มีสติปัญญา ขี้ขลาดและเกียจคร้าน เป็นชนชาติที่อ่อนด้อยกว่าสยามในทุกด้าน สยาม หรือ “ไทย” จึงมอง “ลาว”อย่างรังเกียจ การรับรู้ในความเป็น “ลาว” ของคนในภาคเหนือสืบเนื่องมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มองว่า “พวกเจ้านายลาวประพฤติตัวเลวทรามยิ่งกว่ากรมราชศักดิ์ (พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร: เชิงอรรถ) นอนกับธรรมปาละ” หรือ “…เจ้า (ลาว: ผู้เขียน) เหล่านี้ได้ทั้งผู้หญิงผู้ชาย ดูไม่มีความคิดฤาสง่าราษีที่สมควรปกครองบ้านเมืองอย่างหนึ่งอย่างใด”

หรือ ลาว เป็น “พวกนุ่งผ้าซิ่น กินกิ้งกือ” หรือ “…อีกินกิ้งก่ากบ..” “ลาว” จึงเป็นกลุ่มคนที่ต่ำต้อยกว่า “ไทย” ที่เป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมที่สูงกว่า หรือในกรณีเกิดกบฏเมืองแพร่ รัชกาลที่ 5 ตรัสว่า “…เจ้าลาวพวกนี้คลุกลีตีมงคบค้าสำมเลกันกับพวกเงี้ยว จะพูดอะไรก็พูดกันได้ไปมาหาสู่กันถึงไหนถึงไรได้ กินนอนกันได้ไม่มีจังหวะจะโคนอย่างไรเลย การอไรๆ คงรู้กันทั้งสิ้น…”

ความเป็น “ลาว” ที่รับรู้โดยสยามว่าเป็นชนชาติป่าเถื่อน เป็นคนป่าคนดอย ด้อยกว่าสยาม นำมาสู่การตอบโต้ โดยผลิตชุดการรับรู้ใหม่ว่าเป็นคน “เมือง” ในช่วงที่ตกเป็นประเทศราชของสยาม เพื่อให้ความหมายแก่ตนเองว่าเป็นคนที่อยู่ในเมือง มีวัฒนธรรม และมีความเป็นมาที่ยาวนาน โดยคำว่า “เมือง” เป็น “คำ” ที่ผูกโยงกับหน่วยการปกครองของคนกลุ่ม “ไท” “ลาว” เมืองเป็นศูนย์กลาง ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

เมื่อกลุ่มชาติพันธุ์ใดสามารถจัดตั้งหน่วยทางสังคมการปกครองที่เรียกว่า “เมือง” ได้จึงถือว่าเป็นความหมายอันภาคภูมิใจของคนสมัยนั้น และตอบโต้การถูกเหยียดหยามว่าเป็นคนป่าได้ตรงที่สุด ดังนั้นคำว่า “เมือง” จึงเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ ความมีวัฒนธรรม เพื่อตอบโต้กับการดูถูกของคน “ไทย” ที่มองว่าเป็นคนป่าคนดอย เป็นกลุ่มคนที่ไม่มีวัฒนธรรม

2. โครงสร้างอำนาจที่แตกต่าง

การเข้ามาปรับปรุงการปกครอง หรือเข้ามาครอบงำเมืองที่เป็นประเทศราชเดิมมีการให้ความหมายว่าเป็นการสร้าง “อาณานิคมภายใน” คือ การเข้ามาแย่งยึดเมืองที่เดิมเคยเป็นอิสระในระดับหนึ่งให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐประชาชาติ ท่ามกลางกระบวนการทำให้เป็นสมัยใหม่ เช่น การสถาปนาระบบราชการสมัยใหม่ ระบบการเก็บภาษี สร้างกองทัพสมัยใหม่เพื่อปราบปรามการต่อต้านจากภายใน ฯลฯ

กระบวนการต่างๆ นี้เป็นความพยายามของรัชกาลที่ 5 ที่จะดึงอำนาจจากท้องถิ่นทั้งจากหัวเมืองฝ่ายทางเหนือ อีสาน และใต้ เข้าสู่ศูนย์กลางเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพเหนืออาณาเขต โดยการสถาปนารัฐที่มีศูนย์กลางเดียวที่สถาบันกษัตริย์ จากเดิมที่รัฐสยามเป็น “รัฐแบบราชาธิราช” ที่มีหลายศูนย์อำนาจ และ “เจ้า” ท้องถิ่นมีอิทธิพล สิทธิอำนาจในเมืองของตน

การเข้ามาปรับปรุงการปกครองของสยามกระทำภายใต้การเปลี่ยนแปลงความคิดในเรื่องเขตแดน อำนาจอธิปไตย ท่ามกลางการคุกคามจากชาติมหาอำนาจตะวันตกทั้งจากอังกฤษทางทิศตะวันตก และใต้ ฝรั่งเศสทางทิศตะวันออก จึงเป็นแรงขับเคลื่อนให้รัชกาลที่ 5 ทำการปรับปรุงการปกครอง เพื่อให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก

สยามได้เข้ามาปรับปรุงการปกครองหัวเมืองทางเหนือที่เคยเป็นเมืองประเทศราชเดิม ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ ป่าไม้ มีการลิดรอนอำนาจของกลุ่มเจ้านายเดิม โดยการส่งข้าราชการจากส่วนกลางเข้ามาร่วมปกครอง และในท้ายที่สุดทำให้เมืองกลุ่มเจ้านายเดิมหมดอำนาจในการปกครอง ทั้งทางการเมือง และเศรษฐกิจ และจากฐานะ “เมืองประเทศราช” ก็กลายมาเป็นเพียง “หัวเมือง” หรือ “ภูมิภาค” หนึ่งของสยาม การเปลี่ยนแปลงของรัชกาลที่ 5 เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน อาทิเช่น

ประการแรก เกิดจากความพร้อมของชนชั้นนำสยาม โดยเฉพาะกลุ่มเจ้านายที่เป็นพระเจ้าน้องยาเธอของรัชกาลที่ 5 ในบริบทที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ถึงแก่อสัญกรรม และกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทิวงคต ใน ปี พ.ศ. 2425 และ พ.ศ. 2427 ตามลำดับ ทำให้รัชกาลที่ 5 สถาปนาอำนาจนำและปรับปรุงการปกครองได้อย่างเต็มที่

ประการที่ 2 เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมในสยามที่เกิดพัฒนาการทางการค้าได้เปลี่ยนแปลงเป็นการค้าในระบบเงินตรา ที่ระบบเศรษฐกิจของสยามได้ผูกโยงกับระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงมีการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบเงินตราอย่างกว้างขวาง

ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านโลกทัศน์ของชนชั้นนำสยาม และเกิดการขยายตัวของชนชั้นกระฎุมพี ที่มีวิธีการมองโลกแบบสัจจนิยม และมนุษยนิยม ที่เชื่อมั่นต่อการแปลงโดยมนุษย์ไม่พึ่งพาอำนาจศักดิ์สิทธิ์ และเชื่อในความจริง มีความคิดเรื่องเวลาแบบประจักษ์นิยม เป็นวิธีการมองโลกคนละแบบกับ “ระบบจารีต” ที่มองโลกในกรอบความคิดเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ รวมถึงเชื่อในอิทธิปาฏิหาริย์ โลกทัศน์แบบใหม่นี้นำมาสู่การปรับเปลี่ยนการปกครองของสยามในเวลาต่อมา

ประการที่ 3 การเข้ามาขยายอิทธิพลของชาติมหาอำนาจตะวันตกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้ามายึดประเทศต่างๆ เป็นอาณานิคม เช่น อังกฤษในพม่า ฝรั่งเศสในเวียดนาม เป็นต้น เป็นตัวขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดการปรับปรุงการปกครองเพื่อที่จะได้รักษาเมืองที่เป็นเมืองประเทศราชเดิมไว้

การปรับปรุงการปกครองของรัชกาลที่ 5 ในหัวเมืองทางเหนือที่ถือว่าเป็นเมืองประเทศราช เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2427 โดยเริ่มดำเนินการที่เชียงใหม่ที่เป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค หลังการทำสนธิสัญญากับอังกฤษ โดยมีการส่งกรมหมื่นพิชิตปรีชากรขึ้นมาทำการปฏิรูปทั้งทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจ โดยมีการตั้งตำแหน่ง “เสนา 6 ตำแหน่ง” หรือ “พระยาผู้ช่วยไทย” ประกอบด้วย เสนากรมมหาดไทย เสนากรมการทหาร เสนากรมคลัง เสนากรมยุติธรรม เสนากรมวัง และเสนากรมนา โดยเสนากรมต่างๆมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษากรมการเมือง หรือ เจ้าขันห้าใบ อันประกอบด้วย เจ้าหลวง (เจ้าเมือง) เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ เจ้าราชบุตร เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าหอหน้า) ที่เป็นตำแหน่งในการปกครองระบบเดิมของหัวเมืองในล้านนา

ด้านเศรษฐกิจ ได้มีการจัดระบบการผูกขาดภาษีโดยให้มีการเจ้าภาษีนายอากรประมูล เพื่อให้เป็นการสะดวกในการเก็บภาษีของรัฐบาล และในการปรับปรุงการเก็บภาษีครั้งนี้ได้มีการเก็บเป็นตัวเงิน แทนการเก็บเป็นสิ่งของ ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ราษฎรเป็นอย่างมาก จนนำมาสู่การต่อต้าน เช่น กบฏพญาผาบ การปรับปรุงการปกครองในครั้งนี้มุ่งปรับปรุงการปกครองในเมืองเชียงใหม่ก่อน เนื่องจากเป็นเมืองใหญ่ มีชายแดนติดกับดินแดนของอังกฤษ และมีปัญหาเรื่องคนในบังคับของตะวันตก รวมถึงเป็นเมืองที่มีผลประโยชน์มาก โดยเฉพาะป่าไม้ จึงนำมาสู่การปฏิรูปการปกครองในเมืองเชียงใหม่ก่อนเมืองอื่นๆในภาคเหนือ

3. ‘คนเมือง’ ประดิฐกรรม ‘การต่อต้าน’

การที่คนที่ถูกรับรู้ว่าเป็น “ลาว” ที่มีวัฒนธรรมที่ด้อยกว่าสยามเรียกตนเองว่า “คนเมือง” จึงเป็นสัญญะที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโต้กับชุดการรับรู้ที่สยามสร้างขึ้น และในท้ายที่สุดทำให้คำว่า “ลาว” เลือนหายจากการรับรู้ของผู้คนไปในสมัยหลัง แต่มารับรู้คนในภาคเหนือว่า “คนเมือง” แทน

อย่างไรก็ตามคำว่า “คนเมือง” ก็มิใช่คำที่ใช้เรียกกลุ่มคนในภาคเหนือทั้งหมด แต่คนในภาคเหนือต่างรับรู้ความเป็น “คนเมือง” ที่ผูกโยงกับตำแหน่งแห่งที่ตามชื่อเมืองที่ตนสังกัด ตามหน่วยการปกครอง

“เมือง” ในความหมายของคนภาคเหนือจึงเป็นเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับทำเลที่ตั้ง ฉะนั้นความเป็น “คนเมือง” ในการรับรู้ของคนท้องถิ่นจึงเป็น คนเมืองแพร่ คนเมืองน่าน คนเมืองงาย คนเมืองฝาง ฯลฯ มิใช่ “คนเมือง” แบบเหมารวมอย่างที่คนภายนอกรับรู้

คำว่า “ลาว” หรือคำว่า “เมือง” ในที่นี้มิใช่เกิดขึ้นลอยๆ แต่เกิดขึ้นภายใต้ความเปลี่ยนแปรของบริบทที่กำหนดความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ท่ามกลางการต่อสู้เพื่อนิยามความหมาย และแย่งชิงการกำหนดการรับรู้ของแต่ละฝ่าย ฝ่ายใดสามารถยึดกุมความหมายได้กลุ่มนั้นก็สามารถกำหนดการรับรู้ได้ท่ามกลางความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และการต่อรองของแต่ละฝ่าย

 

http://www.siamintelligence.com/meaning-of-race-on-thai-and-laos/



__________________
Anonymous

Date:
RE: Good article to read: ไทย-ลาว การสร้างความหมายทางเชื้อชาติ


ຂອບໃຈທີ່ສະລະເວລາກັອບເອົາສາຣະຄະດີທີ່ໜ້າສົນໃຈນີ້ມາລົງໃຫ້ອ່ານປະດັບປັນຍາ

ແຕ່ເສັຽດາຍທີ່ຕ້ອງໄດ້ອອກບ້ານໄປກວາດຖະໜົນຕາມຄຸ້ມບ້ານຊ່ອຍເພິ່ນກ່ອນເພາະມື້

ນີ້ເພິ່ນສະຫລອງວັນເອກະຣາດອາເມຣິກາ ທຸກໆຄົນຕ້ອງໄດ້ອອກແຮງງານອະນາໄມ

ຮ່ວມກັນເພື່ອເປັນການຂໍ່ານັບຮັບຕ້ອນວັນດັ່ງກ່າວ.



__________________
UD

Date:

กูล่ะซังเด้ บักปอบนิ

หาแต่แนวผิดกัน 

กันได๋บ่ดี กะหาเอามาโพส 

เฮ็ดให้คนมันเกลียดมันซังกัน 

เรื่องอดีตแท้ๆ

บักปอบเอ่ย 



__________________
Anonymous

Date:

UD wrote:

กูล่ะซังเด้ บักปอบนิ

หาแต่แนวผิดกัน 

กันได๋บ่ดี กะหาเอามาโพส 

เฮ็ดให้คนมันเกลียดมันซังกัน 

เรื่องอดีตแท้ๆ

บักปอบเอ่ย 


 This stories had written in R4 and R5 of Chakri wong. they were talking about Lao Lan na and Lao Esarn.

they wouldn't dare to talk  shiet about Lao on the other side...

 



__________________
Anonymous

Date:

ລາວເປັນຟືນ ຂະເໝນເປັນໄຟ ໄທເປັນຂີ້ເຖົ່າ

ເອົາເຮົາເອົາ ເອົາເອົາເຮົາເອົາ ເວົ້າເລື່ອງເກົ່າ ຄືນມາລອງເບິ່ງ

ໃຫ້ມັນເຖິງ ແດນເມືອງໂຄລາດ ນັ້ນເປັນຊາດ ລ້ານຊ້າງລາວເດີມ

ບໍ່ໄດເຕີມ ບໍ່ໄດ້ຍຸແຍ່ ເຊື້ອລາວແຜ່ ໄປທຸກທິດທາງ

ແຕ່ມີນາງ ອີ່ໂມກະບົດ ໄດ້ຄິດຄົດ ກະບົດຕໍ່ຊາດ

ຍົກໂຄລາດ ເຂົ້າຊ່ວຍສະຫຍາມ ຄວາມເລວຊາມ ບໍ່ມີໃຜແພ້

ຄຽວຄືແບ້ ມັກແຍ່ມັກເຊີງ ເກີດເປັນເພີງ ໄໝ້ເຜົາປະເທດ

ຈຶ່ງເປັນເຫດ ທັບລາວຕົກສໍ່ ແມ່ນໃຜກໍ່ ແມ່ນໃຜກະທຳ

ຂໍແນະນຳ ອີ່ໂມຫີເໜົ່າ ມັນເປັນເຕົ່າ ໃຫ້ສະຫຍາມເຊີງ

ດັງເປີ້ງເປີ້ງ ສົມຊື່ລືກ່າວ ຊື່ວ່າທ້າວ ສຸລານາລີ........ນັ້ນແລ......

 



__________________
Anonymous

Date:

Anonymous wrote:
UD wrote:

กูล่ะซังเด้ บักปอบนิ

หาแต่แนวผิดกัน 

กันได๋บ่ดี กะหาเอามาโพส 

เฮ็ดให้คนมันเกลียดมันซังกัน 

เรื่องอดีตแท้ๆ

บักปอบเอ่ย 


 This stories had written in R4 and R5 of Chakri wong. they were talking about Lao Lan na and Lao Esarn.

they wouldn't dare to talk  shiet about Lao on the other side...

 


 **** you idiots!!!!. You idiots like you ancestor Siam.



__________________
Anonymous

Date:

Anonymous wrote:
Anonymous wrote:
UD wrote:

กูล่ะซังเด้ บักปอบนิ

หาแต่แนวผิดกัน 

กันได๋บ่ดี กะหาเอามาโพส 

เฮ็ดให้คนมันเกลียดมันซังกัน 

เรื่องอดีตแท้ๆ

บักปอบเอ่ย 


 This stories had written in R4 and R5 of Chakri wong. they were talking about Lao Lan na and Lao Esarn.

they wouldn't dare to talk  shiet about Lao on the other side...

 


 **** you idiots!!!!. You idiots like you ancestor Siam.


 Why are you called me an Idiot ? Why ? I'm Khon lao 10000 per cent, In my statement up there, I'm saying they were written when they beat and destroyed Lan Xang Vieng Junh and brought most of the lao to the other side and melted up with Siamese dark lae. and tried to erased the lao races or Identities out of Siam. and written a lots of bad thing about khon lao, either in Laos, lao easrn, lao lan na. that's why the new generation thai kids like to Doo took khon lao you know now !!!!

Back in the old day, Anachak Siam only had Ayuthaya and Lopburi and a few very small towns but dominated by the real Siam of Khmer's desendant, not by Jek Pon Lao like today.

Even today, The Royal House of Chakri is still Jek Pon Lao's brood.

Oh by the way, My ancestor came from Savannakhet and Luang Phabang. and I came to Wattay as a toddler and attended Kindergarten then moved to Sikhay until today.

Anything you want to know about me ? So before you called an idiot please read the message. otherwise, you'd make your self look stupid.

 



__________________
Page 1 of 1  sorted by
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard