18 ต.ค.56 น.อ.อนุวัต ดาผิวดี ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์กองทัพเรือ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือค้นหาเครื่องบินสายการบินลาวที่ประสบอุบัติเหตุตกที่เมืองปากเซ แขวงจำปาศักดิ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ว่า ทางกองทัพเรือได้ส่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการจำนวน 14 นาย ประกอบด้วย หัวหน้าชุด 1 นาย และ ชุดปฏิบัติการพิเศษจากหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ หรือมนุษย์กบ จำนวน 9 นาย ได้เดินทางถึงพื้นที่แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างไม่ดีจึงทำได้เพียงสำรวจพื้นที่โดยรอบเท่านั้น ส่วนสถานการณ์ความคืบหน้าในช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้มีการวางแผนร่วมกันระหว่างกองทัพไทย กองทัพอากาศ และ กองทัพเรือ ในการเข้าไปสำรวจในพื้นที่ว่าจะมีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบกันอย่างไร แต่ดำเนินการก็จะสามารถแบ่งพื้นที่สำรวจได้ทันที สำหรับในส่วนของกองทัพเรือ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ดำเนินการตามที่มีการร้องขอในเรื่องการช่วยเหลือผู้ที่เสียชีวิต รวมทั้งที่ประเทศลาวขอให้สำรวจความเสียหายด้านอื่นๆ
น.อ.มาณพ มัสสุ รองผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์กองทัพอากาศ กล่าวเสริมว่า ทางกองอากาศได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศจำนวน 9 เดินทางเข้าไปในพื้นที่แล้วตั้งแต่เมื่อวาน โดยมีเจ้าหน้าที่กรมยุทธการทหารอากาศ กรมการช่างทหารอากาศ และ สำนักนิรภัยกองการบินทหารอากาศ ไปให้คำแนะนำและค้นหาซากเครื่องบิน เพราะจุดตรงของเครื่องบินอยู่กลางลำน้ำ ซึ่งแต่ขณะนี้ยังไม่สามารถปฏิบัติการค้นซากเครื่องบินได้ เนื่องจากแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่ขนาดใหญ่ มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว และมีน้ำขุ่น ทำให้การค้นหาค่อนข้างยาก เมื่อตกไปแล้วก็จะพัดไปตามกระแสน้ำ การเข้าไปสำรวจจึงเป็นไปได้ยาก เครื่องบินที่จมอยู่ใต้น้ำคาดว่าน่าจะติดโค่น และมาทับถมจนทำให้ไม่ให้ซาก ส่วนการค้นหาของสาเหตุของการตกเป็นเรื่องของบริษัทแอร์ไลน์ของประเทศลาวเป็นผู้แถลงรายละเอียด
นอกจากนี้ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับการร้องขอจากทางการทูตอย่างเป็นทางการเพื่อขอให้ส่งทีมพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลไปร่วมดำเนินการ ซึ่งขณะนี้ได้ออกเดินทางแล้ว ได้ส่ง พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี ผู้บัญชาการกองพิสูจน์หลักฐาน นักประดาน้ำ กองบินตำรวจ และ ตำรวจน้ำ ก็พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เช่นกัน
'ผบ.ตร.' ส่งทีมพิสูจน์อัตลักษณ์ลงพิสูจน์ผู้เสียชีวิต
พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี ที่ปรึกษาสัญญาบัตร10 กล่าวเปิดเผยว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ได้มอบหมายให้นำเจ้าหน้าที่ทีมพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลจากสถาบันนิติเวชโรงพยาบาลตำรวจและสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจและคณะเดินทางไปช่วยพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลกรณีเครื่องบินสายการบินของประเทศลาวตกกลางแม่น้ำโขง ตามคำร้องขอจากทางการประเทศลาว ซึ่งทีมงานประกอบด้วยทีมพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล (DVI) และทีมสนับสนุนซึ่งได้เตรียมความพร้อมไว้ หากมีการร้องขอ
พล.ต.อ.จรัมพร กล่าวอีกว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ให้โอวาทและคำแนะนำกับทีมพิสูจน์อัตลักษณ์ ว่า ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกนายปฏิบัติงานด้วยความเป็นมืออาชีพ ซึ่งงานพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ชื่อว่าเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งในครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตเป็นชาวไทย 5 คนและชาวต่างชาติหลายคน มีประชาชนชาวออสเตรเลียเสียชีวิตรวมอยู่ด้วย 6 ราย ซึ่งได้มีการประสานขอรับความช่วยเหลือจากตำรวจไทยในการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลเช่นกัน สำหรับทีมพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลนั้น เป็นทีมมาจากแพทย์นิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์ศพและตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ของฟันจากศพ และทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านดีเอ็นเอ และผู้เชี่ยวชาญด้านลายพิมพ์นิ้วมือ โดยลายพิมพ์นิ้วมือนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ประสานกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อขอตัวอย่างลายพิมพ์นิ้วมือของผู้สูญหายไว้แล้ว พร้อมขอความร่วมมือในการประสานญาติใกล้ชิด(ลูก,พ่อแม่) เพื่อเก็บตัวอย่างพิสูจน์ดีเอ็นเอใช้เปรียบเทียบ รวมถึงประวัติการทำฟัน
พร้อมกันนี้ พล.ต.อ.จรัมพร ยืนยันว่า ทีมงานจะทำงานตามหลักมาตรฐานสากล พร้อมกันนี้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติยังได้ให้มีการติดตามสถานการณ์โดยผ่านระบบศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี เป็นศูนย์ปฏิบัติการรายงานความคืบหน้ามายังส่วนกลาง พร้อมยืนยันทีมพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลจะทำงานเป็นไปตามหลักมนุษยธรรมอย่างเสมอภาค โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้านเชื้อชาติหรือสัญชาติ และจะร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้พิสูจน์ศพและนำส่งกลับให้ญาติได้นำไปบำเพ็ญกุศลต่อไป
'กต.' เผยกองทัพส่งกำลังพล-อุปกรณ์ช่วยกู้ภัยเหตุเครื่องบินลาวตก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานกงสุลใหญ่ไทย ประจำแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว แจ้งว่าภารกิจค้นหาผู้เสียชีวิตในวันนี้ (18 ต.ค.) ได้เริ่มขึ้นเป็นวันที่ 2 โดยข้อมูลเมื่อเวลา 09.45 น. พบศพเพิ่มเป็น 17 ราย แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นคนไทยหรือไม่ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และชุดกู้ภัยของไทยและลาว ยังคงทำงานกันอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง อีกทั้งในวันนี้ ทีมยุทธการทหารจาก 3 เหล่าทัพ ได้ส่งกำลังพลพร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัยเข้าไปสนับสนุนการกู้ภัย ขณะที่ฝ่ายตำรวจของไทยส่งกำลังเจ้าหน้าที่ไปช่วยพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลของผู้เสียชีวิตด้วย
เหยื่อ/นักบิน และนักบินผู้ช่วย รวมถึงแอร์โฮสเตสในเครื่องบินลาวที่ตกในแม่น้ำโขง ที่เสียชีวิตทั้งหมด คนล่างขวา น.ส.เกสอน พิมลาด แอร์โฮสเตสที่เสียชีวิต อดีตผู้เข้าประกวดนางสาวลาวปี 2552 และได้รับรางวัลนางงามบุคลิกภาพดีลมกระโชกแรงก่อนลงจอดด้านหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทม์สรายงานว่า นายยะขาว โลแพงขาว ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนของลาว เปิดเผยว่า เบื้องต้นพบร่างผู้เสียชีวิตแล้ว 8 ราย และยังไม่สามารถระบุสัญชาติได้ อีกทั้งยังไม่เห็นตัวเครื่องบินที่จมอยู่ในแม่น้ำโขง และกำลังให้นักประดาน้ำช่วยกันค้นหาว่าเครื่องบินจมอยู่ตรงจุดไหน ขณะที่โอกาสจะพบผู้รอดชีวิตนั้นไม่มีเหลือเลย เพราะเครื่องบินพุ่งตกลงมาอย่างแรงก่อนจะจมลงสู่แม่น้ำ โดยร่างผู้เสียชีวิตบางรายพบอยู่ห่างออกไปจากจุดเกิดเหตุราว 20 กิโลเมตร ขณะที่เอเอฟพีรายงานโดยอ้างสำนักข่าวลาว เคพีแอล ระบุว่า พยานที่เห็นเหตุการณ์เปิดเผยว่า เครื่องบินกำลังจะร่อนลงจอดแต่เหมือนกระแทกเข้ากับลมกระโชกแรง ทำให้ส่วนหัวของเครื่องผงกขึ้นและหันหน้าออกจากสนามบิน ก่อนจะหลุดออกจากเรดาร์ของสำนักงานควบคุมทางอากาศ พยานเล่านาทีบึ้ม-ไฟลุกสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยต้องต่อสู้กับสภาพอากาศที่เลวร้ายในปฏิบัติการค้นหาร่างของเหยื่อจากเหตุเครื่องบินตกในแม่น้ำโขงโดยมีการนำเรือหลายขนาดมาช่วยในการค้นหาและมีทีมนักประดาน้ำจากไทยเข้าร่วมช่วยด้วย หนึ่งในนักประดาน้ำไทยเปิดเผยว่า การดำน้ำในตอนนี้เป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากลมที่แรงและเป็นอันตรายในขณะที่มีประชาชนจำนวนมากมุงดูเจ้าหน้าที่ทำงานอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำบางคนเล่าถึงเหตุการณ์ตอนที่เครื่องบินตกว่าได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้น ก่อนจะเห็นควันและไฟลุกท่วมเครื่องบิน และตกลงแม่น้ำ โดยมีเศษซากเครื่องบินและกระเป๋าเดินทางของผู้โดยสารลอยมาตามน้ำติดอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำ"ลาวแอร์ไลน์"แถลงเสียใจด้านนายสมบนดวงดาราประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารของสายการบินลาวแอร์ไลน์ ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ว่า เป็นเรื่องเศร้าที่ไม่น่าจะมีใครรอดชีวิตมาได้ และได้แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งไปยังครอบครัวของผู้เสียชีวิตโดยนางยามีนา เบนกีกี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส กำกับดูแลประชาคมภาษาฝรั่งเศส เปิดเผยหลังเข้าพบกับรัฐมนตรีต่างประเทศลาวที่นครเวียงจันทน์ ว่า ขณะนี้มีการนำร่างของผู้เสียชีวิตขึ้นมาได้บ้างแล้ว ส่วนเครื่องบินยังคงจมอยู่ในแม่น้ำโขง และไม่สามารถดึงเอาอะไรออกมาได้ ยังคงมีร่างผู้เสียชีวิตติดอยู่ภายในเครื่องบิน จุดตก - ภาพแสดงจุดที่เครื่องบินเอทีอาร์-72 สายการบินลาวแอร์ไลน์ ประสบอุบัติเหตุตกลงแม่น้ำโขงใกล้สนามบินปากเซ ประเทศลาวพ่อแม่ลูก"รอดส์"ดับ4ศพด้านกระทรวงต่างประเทศและการค้าออสเตรเลียแถลงว่ามีชาวออสเตรเลียอยู่บนเครื่องบินที่เกิดเหตุ 6 คน และคาดว่าไม่มีผู้รอดชีวิต โดยชาวออสเตรเลียที่เสียชีวิตมี 4 รายที่เป็นครอบครัวเดียวกัน คือครอบครัวรอดส์ เสียชีวิตทั้งพ่อแม่และลูกอีก 2 คน อายุ 3 ขวบ และ 17 เดือน ขณะที่รายงานระบุว่า ทางสายการบินลาวแจ้งว่ามีชาวออสเตรเลีย 5 คน เนื่องจากชื่อของ ด.ญ.เจษสุดา รอดส์ ลูกสาววัย 3 ขวบของครอบครัวนี้ถูกระบุว่าเป็นชาวลาว ส่วนชาวออสเตรเลียอีก 2 คน เป็นพ่อลูกกัน วัย 42 ปี และ 71 ปี โดยครอบครัวรอดส์อยู่ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ออกแถลงการณ์ขอให้ทุกคนเคารพในความเป็นส่วนตัวของครอบครัวในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ และจะไม่ขอแสดงความเห็นหรือให้ข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น เหยื่อก่อนบิน - เฟซบุ๊กลาวโพสต์รูปตา ยาย ถ่ายภาพก่อนขึ้นเครื่องบินของสายการบินลาวแอร์ไลน์ ลำที่ประสบอุบัติเหตุตกลงแม่น้ำโขง ใกล้สนามบินเมืองปากเซ ประเทศลาว รวมถึงกอร์ดอน เครตัน และไมเคิล เครตัน ชาวออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมเพิ่งรับมอบเครื่องเมื่อมี.ค.ขณะที่บริษัทเอทีอาร์ผู้ผลิตเครื่องบินของฝรั่งเศส-อิตาลีแจ้งว่าเครื่องบินเอทีอาร์-72 เป็นเครื่องบินแบบ 2 เครื่องยนต์ที่เพิ่งส่งมอบให้สายการบินลาวแอร์ไลน์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้สายการบินลาวแอร์ไลน์เป็นสายการบินแห่งชาติของ สปป.ลาว เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 เมื่อปีที่ผ่านมา ได้ให้บริการผู้โดยสารไปทั้งสิ้น 658,000 คน มีเครื่องบินอยู่เพียง 14 ลำ ให้บริการในประเทศและระหว่างประเทศไปยังจีน กัมพูชา ไทย เวียดนาม และสิงคโปร์ โดยอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งล่าสุดของสายการบินลาวเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2543 ครั้งนั้นยังใช้ชื่อว่าเป็นสายการบินลาว เอวิเอชั่น ที่ประสบเหตุตกบนเทือกเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของลาว ทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 ราย ปึ้งยกหูแสดงความเสียใจนายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ว่า นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้โทรศัพท์หารือกับนายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศ สปป.ลาว โดยได้แสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและแสดงความพร้อมที่จะช่วยเหลือในการค้นหาบุคคลที่เสียชีวิต รวมทั้งความสะดวกในด้านต่างๆ ขณะเดียวกัน เอกอัครราชทูตไทยที่กรุงเวียงจันทน์ ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับทางการลาวในภารกิจนี้แล้วนายเสขกล่าวว่า เบื้องต้นได้ประสานให้นักประดาน้ำจาก จ.อุบลราชธานี จำนวน 30 คนไปช่วยค้นหาร่างผู้เสียชีวิต ขณะนี้ได้รับแจ้งว่าพบแล้ว 7 ศพ แต่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นคนชาติใด ขณะที่สายการบินลาวยังไม่ได้เปิดเผยรายชื่อผู้โดยสารทั้งหมดอย่างเป็นทางการ ส่วนญาติของผู้ที่โดยสารในเที่ยวบินดังกล่าวสามารถติดต่อสอบถามความคืบหน้าและยืนยันรายชื่อได้ที่กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศหมายเลขโทรศัพท์0-2575-1047 หรือสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว กรมการกงสุล จ.อุบลราชธานี หมายเลขโทรศัพท์ +6684-242313 หรือ +6681-4251129อุบลฯตั้งศูนย์ประสานงานนายสุวัฒน์ แก้วสุข ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กล่าวว่า ล่าสุดทางศูนย์ประสานงานได้รับการติดต่อจากญาติของผู้เสียชีวิตครบทุกรายแล้ว และอยู่ระหว่างรอผลการปฏิบัติการกู้ศพของผู้เสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ ซึ่งจะต้องนำมาผ่านการชันสูตรและพิสูจน์อัตลักษณ์ ก่อนออกใบมรณบัตร และส่งกลับประเทศไทย นอกจากนี้ญาติของผู้เสียชีวิตบางรายได้เดินทางไปยังจุดเกิดเหตุด้วยตนเองแล้วด้านนายรัศม์ ชาลีจันทร์ กงสุลใหญ่ไทย ณ สะหวันนะเขต กล่าวว่า เดิมคาดว่า จะส่งร่างผู้เสียชีวิตคนไทยทั้งหมดกลับได้ภายในบ่ายวันที่ 17 ตุลาคม แต่คงเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี รักษาราชการผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้เดินทางถึงที่เกิดเหตุแล้ว พร้อมสั่งตั้งศูนย์ประสานงานที่จุดผ่านแดนช่องเม็ก-ปากเซ รองผู้ว่าฯนำทีมกู้ภัยช่วยขณะที่นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าฯ อุบลราชธานี พร้อมด้วยทีมค้นหาและกู้ภัยกว่า 100 คน จากทีมค้นหาและกู้ภัยฮุก 31 นครราชสีมา, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี นำอุปกรณ์และนักประดาน้ำ เดินทางมายังด่านชายแดนช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี เพื่อเดินทางต่อไปยังจุดที่เครื่องบินตก ตามที่เจ้าแขวงจำปาสักได้ส่งนายคำสอน เกตุมาลา หัวหน้าสำนักงานแขวงจำปาสัก มาประสานขอความช่วยเหลือพล.ร.ต.กาญจน์ ดีอุบล เลขานุการกองทัพเรือ ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ กล่าวว่า พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ได้สั่งการให้ศูนย์ปฏิบัติการพิเศษกองทัพเรือ ประสานกับหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง (นรข.) จัดเจ้าหน้าที่จำนวน 14 คน ประกอบด้วย ผู้บังคับหน่วยผู้ประสานงาน 5 คน และนักประดาน้ำ 9 คน เข้าไปช่วยกู้ซากเครื่องบินและผู้เสียชีวิต ตร.จัดทีมพิสูจน์เอกลักษณ์พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) แถลงว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ได้พูดคุยกับผู้นำตำรวจ สปป.ลาว และสั่งการให้จัดทีมบริหารเหตุการณ์เข้าช่วยเหลือ โดยมอบหมาย พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี ที่ปรึกษา (สบ 10) เป็นหัวหน้าชุด พล.ต.ท.คำรบ ปัญญาแก้ว ผบช.สพฐ.ตร.เป็นรองหัวหน้า จัดส่งทีมพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล แพทย์นิติเวช รพ.ตร. เจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ ลายนิ้วมือ "พร้อมจัดส่งกำลังตำรวจน้ำ อุปกรณ์ค้นหาใต้น้ำ มนุษย์กบ เครื่องอัดอากาศ เรือตำรวจน้ำ เครื่องบินตำรวจ เฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินฟอคเกอร์สนับสนุนในพื้นที่ และให้ ภ.จว.อุบลราชธานี จัดกำลังช่วยเหลือ" โฆษก ตร.กล่าว และว่า การเดินทางไปมีการนำลายพิมพ์นิ้วมือคนไทยทั้ง 5 คนไปด้วย เพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ ทัพอากาศแนะนำกู้ซากจมพล.อ.ท.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ (ทอ.) เปิดเผยว่า ทางลาวได้ประสานมายังศูนย์ปฏิบัติการกองทัพไทย ให้ประสานกองทัพอากาศในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำในการกู้ซากเครื่องบินที่ประสบอุบัติเหตุ โดย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. ได้สั่งการให้กรมยุทธการทหารอากาศ กรมช่างทหารอากาศ และสำนักงานนิรภัยการบินทหารอากาศ จัดเจ้าหน้าที่ 5 นาย ไปให้คำแนะนำตามคำร้องขอพล.อ.ท.มณฑลกล่าวว่า เนื่องจากกองทัพอากาศไทยมีความพร้อมและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศลาว ผบ.ทอ. ยินดีที่จะส่งเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำและปรึกษาในการกู้ซากเครื่องบิน รวมถึงการตรวจสอบหาสาเหตุการตกในครั้งนี้ ปตท.เต็มที่ช่วย3พนักงานนายชวลิต พันธ์ทอง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบพบว่ามีพนักงานบริษัทในกลุ่ม ปตท. จำนวน 3 ราย ได้แก่ นายยรรยง อาภาอนันต์ นายนิพล เหม็งศรี และนายวีระเทพ วิวะวง ร่วมเดินทางกับสายการบินดังกล่าวไปปฏิบัติภารกิจขยายสถานีบริการและคลังน้ำมันที่ สปป.ลาว ทั้งนี้ ปตท.ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวเพื่อนพนักงาน และ ปตท.จะรับผิดชอบดูแลเป็นอย่างดี นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีพนักงานของ ปตท. อยู่ในเครื่องบินลาวแอร์ไลน์ที่เกิดอุบัติเหตุว่า ทราบว่าเป็นพนักงานของ ปตท. 2 คน และอีก 1 คนเป็นผู้รับเหมาที่ไปด้วยกัน เพื่อสำรวจแหล่งหลุมขุดเจาะ ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ ถึงเวลานี้ยังไม่ได้รับรายงานว่าเสียชีวิต จึงยังไม่อยากระบุชัดอย่างนั้น อย่างไรก็ตาม ขอให้ ปตท.ดูข้อมูลให้ละเอียดก่อนว่าใครเป็นใครแล้วจึงจะดูว่าดูแลครอบครัวพนักงานอย่างไร ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่แล้วเสียชีวิตพี่สาววิศวกรตามหาน้องน.ส.วิลาวรรณ อาภาอนันต์ เจ้าหน้าที่สำนักงานเลขานุการ สภาผู้แทนราษฎร พี่สาวนายยรรยง อาภาอนันต์ วิศกร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 1 ใน 5 คนไทย ที่ประสบเหตุเครื่องบินตกใน สปป.ลาว ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ว่า ขณะนี้เดินทางมาถึงท่าเรือท่าศาลา แขวงจำปาสัก สปป.ลาว โดยเตรียมเรือเดินทางไปจุดเกิดเหตุในช่วงเย็น พร้อมกับพี่เขยและหัวหน้าของนายยรรยง จากบริษัท ปตท. ขณะนี้มีเพียงหน่วยกู้ภัยโคราช ประมาณ 30 คน และประชาชนที่เข้ามาช่วยด้วยใจ โดยไม่มีหน่วยราชการของไทยเลย ซึ่ง ปตท.ได้ประสานขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยราชการและทหารเรือแล้ว "ทราบว่าได้พบศพแล้ว 6 ศพ เป็นผู้หญิงทั้งหมด ส่วนที่เหลือยังไม่พบ อย่างไรก็ตามขณะนี้น้ำในแม่น้ำโขงไหลแรงมาก ทำให้ทำใจแล้วว่า อาจจะไม่พบศพน้องชาย แต่ยังมีความหวัง จึงจะอยู่ในพื้นที่อีก 1-2 วัน หรือจนกว่าจะหาศพน้องชายพบ" น.ส.วิลาวรรณกล่าวเผยลางสังหรณ์ก่อนเกิดเหตุผู้สื่่อข่าวถามว่า มีลางบอกเหตุจากน้องชายบ้างหรือไม่ น.ส.วิลาวรรณกล่าวว่า ที่ผ่านมาน้องชายไม่เคยส่งข้อความทางไลน์มาคุยกันเลย แต่ช่วงบ่ายวันเกิดเหตุ น้องชายได้ส่งข้อความทางไลน์มาหาหลายครั้งว่าให้เลื่อนรถให้หน่อยเพราะกลัวจะตากแดดและไปขวางทางคนอื่น จึงคิดว่านี่คือลางบอกเหตุแล้ว "อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ได้เลี่ยงที่จะไม่บอกพ่อและแม่ เพราะแม่ป่วยอยู่ แต่ท่านก็ทราบจากข่าวผ่านทางสื่อมวลชนแล้ว แต่ยังไม่ได้คุยกันในเรื่องนี้" น.ส.วิลาวรรณกล่าวนายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบการค้นหาร่างผู้เสียชีวิตและกู้ซากเครื่องบินว่า ล่าสุดพบแล้ว 15 ราย และยังไม่ได้รับรายงานว่าเป็นสัญชาติใดบ้าง เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลลาวโพสต์ชื่นชมทีมกู้ภัยไทยผู้สื่อข่าวรายงานว่าแวดวงผู้ใช้โซเชียลมีเดียของลาวได้นำเอาประวัติส่วนตัวของเหยื่อผู้เสียชีวิต ภาพถ่าย รวมถึงภาพถ่ายก่อนออกเดินทางมาโพสต์ในเฟซบุ๊กเพื่อแสดงความอาลัย และยังนำเอาภาพถ่ายทีมกู้ภัยจากประเทศไทย ที่กำลังเดินทางไปช่วยกู้ซากเครื่องบิน หาบุคคลสูญหาย และพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลมาโพสต์เผยแพร่ โดยมีข้อความชื่นชมและให้กำลังใจในการทำงาน ส่วนกรณีผู้โพสต์ข้อความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับประเทศลาวในโซเชียลมีเดีย ก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลมีเดียโดยระบุว่าคนไทยโพสต์ข้อความ และมีชาวลาวโพสต์ข้อความว่า แทนที่จะเห็นใจกัน ทำไมต้องพูดแบบนั้น แต่ก็ขอขอบคุณ สำหรับคนไทยที่มาช่วยล่าสุดวันที่ 18 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าในการกู้ซากเครื่องบิน และค้นหาศพผู้เสียชีวิตจากเครื่องบินโดยสาร รุ่นเอทีอาร์ 72 เที่ยวบินคิววี 301 ของสายการบินลาวแอร์ไลน์ บินออกจากท่าอากาศ ยานวัดไต เวียงจันทน์ และประสบอุบัติเหตุตกกระแทกเกาะกลางลำน้ำโขง หลังจากที่เมื่อวานนี้ เจ้าหน้าที่ประสบปัญหาน้ำไหลเชี่ยว การค้นหาเป็นไปด้วยความยากลำบาก สามารถค้นหาศพผู้เสียชีวิตได้แล้ว 14 ศพ จากทั้งหมด 49 ศพวันนี้ทีมพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล ฝ่ายไทยนำโดย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะนำคณะเดินทางไปยังอำเภอปากเซ ประเทศลาว เพื่อช่วยเหลือในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลจากศพที่พบ อย่างไรก็ตาม การตรวจพิสูจน์ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากมีจำนวนศพมาก รวมทั้งศพจมน้ำมาถึง 2 วันแล้วส่วนการกู้ซากเครื่องบิน ทางกองทัพอากาศของไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำตามคำร้องขอจากลาว ตั้งแต่เมื่อวานนี้ คาดวันนี้จะรายงานผลการปฏิบัติการมายังกองทัพอากาศมีรายงานล่าสุด นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ได้หารือกับนายสมมาด พนเสนา รมว.คมนาคมของลาว ที่เมืองปากเซ ระบุ ทางการไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือทางการลาวอย่างเต็มที่ ทั้งสนับสนุนเรือ นักประดาน้ำ และอุปกรณ์ค้นหาซากเครื่องบิน รวมทั้งข้อมูลด้านวิชาการต่าง ๆ จากนี้ จะเดินหน้าร่วมกันกู้ซากเครื่องบินที่ตก
Anonymous wrote:การเมือง : ข่าวทั่วไปวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 25561 'เหล่าทัพ'ผนึกกำลังช่วยลาวกู้ซากเครื่องบิน'เหล่าทัพ' พร้อมใจช่วยลาวกู้ซากเครื่องบินมรณะ เผยสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยเป็นเหตุทำงานยาก 18 ต.ค.56 น.อ.อนุวัต ดาผิวดี ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์กองทัพเรือ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือค้นหาเครื่องบินสายการบินลาวที่ประสบอุบัติเหตุตกที่เมืองปากเซ แขวงจำปาศักดิ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ว่า ทางกองทัพเรือได้ส่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการจำนวน 14 นาย ประกอบด้วย หัวหน้าชุด 1 นาย และ ชุดปฏิบัติการพิเศษจากหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ หรือมนุษย์กบ จำนวน 9 นาย ได้เดินทางถึงพื้นที่แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างไม่ดีจึงทำได้เพียงสำรวจพื้นที่โดยรอบเท่านั้น ส่วนสถานการณ์ความคืบหน้าในช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้มีการวางแผนร่วมกันระหว่างกองทัพไทย กองทัพอากาศ และ กองทัพเรือ ในการเข้าไปสำรวจในพื้นที่ว่าจะมีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบกันอย่างไร แต่ดำเนินการก็จะสามารถแบ่งพื้นที่สำรวจได้ทันที สำหรับในส่วนของกองทัพเรือ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ดำเนินการตามที่มีการร้องขอในเรื่องการช่วยเหลือผู้ที่เสียชีวิต รวมทั้งที่ประเทศลาวขอให้สำรวจความเสียหายด้านอื่นๆ น.อ.มาณพ มัสสุ รองผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์กองทัพอากาศ กล่าวเสริมว่า ทางกองอากาศได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศจำนวน 9 เดินทางเข้าไปในพื้นที่แล้วตั้งแต่เมื่อวาน โดยมีเจ้าหน้าที่กรมยุทธการทหารอากาศ กรมการช่างทหารอากาศ และ สำนักนิรภัยกองการบินทหารอากาศ ไปให้คำแนะนำและค้นหาซากเครื่องบิน เพราะจุดตรงของเครื่องบินอยู่กลางลำน้ำ ซึ่งแต่ขณะนี้ยังไม่สามารถปฏิบัติการค้นซากเครื่องบินได้ เนื่องจากแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่ขนาดใหญ่ มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว และมีน้ำขุ่น ทำให้การค้นหาค่อนข้างยาก เมื่อตกไปแล้วก็จะพัดไปตามกระแสน้ำ การเข้าไปสำรวจจึงเป็นไปได้ยาก เครื่องบินที่จมอยู่ใต้น้ำคาดว่าน่าจะติดโค่น และมาทับถมจนทำให้ไม่ให้ซาก ส่วนการค้นหาของสาเหตุของการตกเป็นเรื่องของบริษัทแอร์ไลน์ของประเทศลาวเป็นผู้แถลงรายละเอียด นอกจากนี้ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับการร้องขอจากทางการทูตอย่างเป็นทางการเพื่อขอให้ส่งทีมพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลไปร่วมดำเนินการ ซึ่งขณะนี้ได้ออกเดินทางแล้ว ได้ส่ง พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี ผู้บัญชาการกองพิสูจน์หลักฐาน นักประดาน้ำ กองบินตำรวจ และ ตำรวจน้ำ ก็พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เช่นกัน 'ผบ.ตร.' ส่งทีมพิสูจน์อัตลักษณ์ลงพิสูจน์ผู้เสียชีวิต พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี ที่ปรึกษาสัญญาบัตร10 กล่าวเปิดเผยว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ได้มอบหมายให้นำเจ้าหน้าที่ทีมพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลจากสถาบันนิติเวชโรงพยาบาลตำรวจและสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจและคณะเดินทางไปช่วยพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลกรณีเครื่องบินสายการบินของประเทศลาวตกกลางแม่น้ำโขง ตามคำร้องขอจากทางการประเทศลาว ซึ่งทีมงานประกอบด้วยทีมพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล (DVI) และทีมสนับสนุนซึ่งได้เตรียมความพร้อมไว้ หากมีการร้องขอ พล.ต.อ.จรัมพร กล่าวอีกว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ให้โอวาทและคำแนะนำกับทีมพิสูจน์อัตลักษณ์ ว่า ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกนายปฏิบัติงานด้วยความเป็นมืออาชีพ ซึ่งงานพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ชื่อว่าเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งในครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตเป็นชาวไทย 5 คนและชาวต่างชาติหลายคน มีประชาชนชาวออสเตรเลียเสียชีวิตรวมอยู่ด้วย 6 ราย ซึ่งได้มีการประสานขอรับความช่วยเหลือจากตำรวจไทยในการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลเช่นกัน สำหรับทีมพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลนั้น เป็นทีมมาจากแพทย์นิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์ศพและตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ของฟันจากศพ และทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านดีเอ็นเอ และผู้เชี่ยวชาญด้านลายพิมพ์นิ้วมือ โดยลายพิมพ์นิ้วมือนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ประสานกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อขอตัวอย่างลายพิมพ์นิ้วมือของผู้สูญหายไว้แล้ว พร้อมขอความร่วมมือในการประสานญาติใกล้ชิด(ลูก,พ่อแม่) เพื่อเก็บตัวอย่างพิสูจน์ดีเอ็นเอใช้เปรียบเทียบ รวมถึงประวัติการทำฟัน พร้อมกันนี้ พล.ต.อ.จรัมพร ยืนยันว่า ทีมงานจะทำงานตามหลักมาตรฐานสากล พร้อมกันนี้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติยังได้ให้มีการติดตามสถานการณ์โดยผ่านระบบศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี เป็นศูนย์ปฏิบัติการรายงานความคืบหน้ามายังส่วนกลาง พร้อมยืนยันทีมพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลจะทำงานเป็นไปตามหลักมนุษยธรรมอย่างเสมอภาค โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้านเชื้อชาติหรือสัญชาติ และจะร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้พิสูจน์ศพและนำส่งกลับให้ญาติได้นำไปบำเพ็ญกุศลต่อไป 'กต.' เผยกองทัพส่งกำลังพล-อุปกรณ์ช่วยกู้ภัยเหตุเครื่องบินลาวตก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานกงสุลใหญ่ไทย ประจำแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว แจ้งว่าภารกิจค้นหาผู้เสียชีวิตในวันนี้ (18 ต.ค.) ได้เริ่มขึ้นเป็นวันที่ 2 โดยข้อมูลเมื่อเวลา 09.45 น. พบศพเพิ่มเป็น 17 ราย แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นคนไทยหรือไม่ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และชุดกู้ภัยของไทยและลาว ยังคงทำงานกันอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง อีกทั้งในวันนี้ ทีมยุทธการทหารจาก 3 เหล่าทัพ ได้ส่งกำลังพลพร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัยเข้าไปสนับสนุนการกู้ภัย ขณะที่ฝ่ายตำรวจของไทยส่งกำลังเจ้าหน้าที่ไปช่วยพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลของผู้เสียชีวิตด้วย
Thank you very much for your generiousity, Thailand.
ໃນຖານະຄົນລາວຄົນໜຶ່ງຕ້ອງຂໍຂອບໃຈກັບພີ່ນ້ອງຄົນໄທ ກອງທັບໄທ ທີ່ມີນໍາໃຈແລະອາດຫານຊ່ວຍຄົນລາວໃນຄາວເຄາະຮ້າຍຄັ້ງນີ້ ຂໍຂອບໃຈຢ່າງສູງ
ขอบคุณมากที่ท่านมีน้ำใจ thank you so much
Anonymous wrote:ໃນຖານະຄົນລາວຄົນໜຶ່ງຕ້ອງຂໍຂອບໃຈກັບພີ່ນ້ອງຄົນໄທ ກອງທັບໄທ ທີ່ມີນໍາໃຈແລະອາດຫານຊ່ວຍຄົນລາວໃນຄາວເຄາະຮ້າຍຄັ້ງນີ້ ຂໍຂອບໃຈຢ່າງສູງ ขอบคุณมากที่ท่านมีน้ำใจ thank you so much
ເເລ້ວອ້າຍຫວຽດຫາຍຫົວໄປໄສຫຶ
Anonymous wrote:Anonymous wrote:ໃນຖານະຄົນລາວຄົນໜຶ່ງຕ້ອງຂໍຂອບໃຈກັບພີ່ນ້ອງຄົນໄທ ກອງທັບໄທ ທີ່ມີນໍາໃຈແລະອາດຫານຊ່ວຍຄົນລາວໃນຄາວເຄາະຮ້າຍຄັ້ງນີ້ ຂໍຂອບໃຈຢ່າງສູງ ขอบคุณมากที่ท่านมีน้ำใจ thank you so much ເເລ້ວອ້າຍຫວຽດຫາຍຫົວໄປໄສຫຶ
ອ້າຍຫວຽດຍັງຄາກິນອົບແລະປີ້ງໝາຢູ່ ຈະມາກວດກາຕາມພາຍຫລັງ
ຫລັງຈາກເກັບກູ້ທັງຊາກເຮືອບິນແລະຊາກສົບຂອງຜູ້ເຄາະຮ້າຍສຳເລັດ
ລົງພຸ້ນລະ.
ยามทุกยามยากพึ่งพาไผบ่อได้นอกจากพี่น้องฝั่งไท คนลาวเฮายังบ่มีปันยางมสบขึ้นมา ปานนี้สิบ่ขึ้นอืดหมดแล้วเด่
เข้าหนาวนี้คือสิมีพี่น้องซาวจำปาสักล่วงหลายผ่านซ่องเมกไปหาหมอฝั่งไทยที่อุบน บางเทื่อเพิ่นสิบ่ได้คิดเงินจักบาด
ขอบใจหลายแทนซาวลาวเด้อ
ภารกิจการค้นหาซากเครื่องบินโดยสารรุ่น เอทีอาร์-72 ของสายการบินลาว และร่างผู้เสียชีวิตที่คาดว่าจะสูญเสียทั้งลำ จำนวน 49 ศพ ยังคงเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากอุปสรรคในลำน้ำโขงที่มีกระแสน้ำเชี่ยวกราก และขุ่นข้นจนมองไม่เห็นวัตถุใดๆ ใต้น้ำ ดังนั้น การค้นหาใต้น้ำจึงต้องใช้ตัวช่วย คือ อุปกรณ์โซนาร์ (SONAR) ที่ใช้หลักการการสะท้อนเสียงของวัตถุใต้น้ำเพื่อช่วยค้นหา ผู้เชี่ยวชาญในกองทัพเรือไทยให้ข้อมูลว่า สำหรับภารกิจการค้นหาในครั้งนี้ใช้โซนาร์ 3 ชนิด โดยแต่ละชนิดก็มีลักษณะการทำงาน และคุณสมบัติในการค้นหาแตกต่างกันออกไป ดังนี้ 1.Side scan sonar ซึ่งมีตัวเครื่องรูปร่างหน้าตาคล้าย "จรวด" โดยมีอุปกรณ์หลักประกอบด้วย ตัวเครื่อง และสายเชื่อมต่อ โดยหลักการทำงาน คือ เวลาใช้งานต้องทิ้งตัว Side scan sonar ลงไปในน้ำ แล้วใช้เรือผิวน้ำลากไปเรื่อยๆ เพื่อให้เครื่องสแกนหาวัตถุที่จมอยู่ใต้น้ำ เมื่อเจอวัตถุแล้ว ตัวเครื่องจะส่ง "สัญญาณเตือน" เพื่อ "กำหนดพิกัด" ได้อย่างแม่นยำ สำหรับความยาวของสายลากมี 3 ขนาด คือ 23, 45 และ 60 เมตร ที่ความเร็วไม่เกิน 2-3 นอต น้ำหนักตัวเครื่อง 4.5 กิโลกรัม 2.เครื่องค้นหาวัตถุใต้น้ำ หรือโซนาร์รุ่น ดีเอชเอส-100 เป็นเครื่องโซนาร์แบบ "มือถือ" สำหรับให้นักประดาน้ำถือลงไปใต้น้ำเพื่อค้นหาวัตถุ โดยมีหลักการค้นหา 2 แบบ คือ Active และ Passive โดยการค้นหาแบบ Active จะมีการสะท้อนความถี่ของเสียงลงไปใต้น้ำ เมื่อเจอวัตถุแล้วเครื่องจะส่งสัญญาณแจ้งเตือนเป็นสัญญาณภาพแบบ 3 มิติ มีระยะค้นหา 3 ระยะ คือ 20, 60 และ 120 หลา ส่วนการค้นหาแบบ Passive จะมีการส่งคลื่นความถี่ในระดับเดียวกับกล่องบันทึกข้อมูลการบิน หรือ "กล่องดำ" ของเครื่องบิน เมื่อเครื่อง ดีเอชเอส-100 เข้าใกล้กล่องดำ สัญญาณของเครื่องมือทั้งสองก็จะจูนเข้าหากันโดยอัตโนมัติ โดยมีความลึกในการทำงาน 600 ฟุต สรุปแล้ว นี่ก็คือเครื่องมือที่ใช้ค้นหากล่องดำของเครื่องบิน เพื่อ "ไขปริศนา" สาเหตุการตกที่แท้จริงของเครื่องบินนั่นเอง !! 3.Jack sonar มีรูปร่างหน้าตาคล้าย "ก้างปลา" หลักการทำงานคล้าย side scan sonar คือ ผูกโซนาร์ก้างปลาเข้ากับเรือผิวน้ำ แล้วลากไปเรื่อยๆ เพื่อให้คลื่นความถี่จากก้างปลากระทบกับวัตถุที่จมอยู่ใต้น้ำ มักใช้ค้นหากับวัตถุขนาดใหญ่ ซึ่งในที่นี้ก็คือ "ซากเครื่องบิน" อย่างไรก็ตาม เขาชี้ว่าอุปสรรคสำคัญในการค้นหาครั้งนี้ คือ กระแสน้ำที่แรง และความขุ่นข้นของน้ำ เพราะอุปกรณ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นล้วนมีคุณสมบัติเหมาะสม "ในทะเล" ทั้งสิ้น โดยกระแสน้ำในทะเลแม้จะไหลแรงเป็นบางครั้ง แต่น้ำทะเลมีความใส สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไม่ขุ่นข้นจนมองไม่เห็นแม้แต่ฝ่ามือตัวเองเหมือนในแม่น้ำ การค้นหาจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
กรณีโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อันเนื่องมาจากเครื่องบินโดยสาร เอทีอาร์ 72-600 หมายเลขอาร์ดีพีดี 34233 ของสายการบินลาวแอร์ไลน์ เที่ยวบินคิววี 301 ที่เดินทางออกจากสนามบินวัดไต ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป.ลาว) ไปยังเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประสบอุบัติเหตุจนเครื่องตกลงกลางลำน้ำโขง เมื่อเย็นวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าผู้โดยสารและลูกเรือรวม 49 คน เสียชีวิตทั้งหมดนั้น วันนี้ความน่าสนใจยังอยู่ที่ปฏิบัติการร่วมไทย-ลาว และนานาชาติ เพื่อร่วมค้นหาและกอบกู้ซากเครื่องบิน และศพผู้เสียชีวิตกลางลำน้ำโขง ความจริงน่าสนใจมาตั้งแต่ทันทีที่ทราบข่าว นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้สั่งการและประสานงานไปยังมูลนิธิการกุศล 4 จังหวัดของอีสานใต้ ที่มีความพร้อมและมีผู้เชี่ยวชาญในการค้นหาใต้น้ำ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยกู้ภัยจีตัมเกาะ หน่วยกู้ภัยสว่างบูชาธรรม หน่วยกู้ภัยจี้กง จ.อุบลราชธานี หน่วยกู้ภัยฮุก 31 จากนครราชสีมา หน่วยกู้ภัยสลักไดสุรินทร์ และหน่วยกู้ภัยศรีสะเกษสงเคราะห์ รวมกว่า 100 ชีวิต ให้จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมืออุปกรณ์ดำน้ำ จัดเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการค้นหาใต้น้ำ เพื่อเป็นกำลังหลักในการค้นหาซากเครื่องบินและผู้เสียชีวิต นอกจากนั้นในภาคราชการเอง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลฯ เตรียมรถส่องสว่างและคอยจัดหาอุปกรณ์หนุนช่วย ร่วมด้วยสำนักงานสาธารณสุข โรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้ที่เกิดเหตุ เตรียมรถฉุกเฉิน หมอ พยาบาล อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงสั่งการให้เปิดจุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก อ.สิรินธร อุบลราชธานี ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ทุกฝ่าย พร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที ที่ทางการลาวประสานขอความช่วยเหลือ พร้อมกับให้สื่อมวลชนช่วยกระจายข่าว ถึงความพร้อมในการช่วยเหลือในทุกด้าน หากได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ลาว ต่อมาเช้าวันที่ 17 ตุลาคม 2556 นายคำสอน เหตุมาลา หัวหน้าสำนักงานแขวงจำปาสัก ส.ป.ป.ลาว ก็ได้ประสานร้องขอความช่วยเหลือมายังฝ่ายไทย “ผู้ประสานงานลาวบอก ทราบข่าวจากสื่อว่าทางการไทยได้เตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ และอุปกรณ์ไว้แล้ว จึงประสานงานขอความช่วยเหลือ สำหรับพื้นที่ชายแดนจะมีคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนไทย-ลาวอยู่แล้ว โดยเจ้าหน้าที่ของทั้งสองประเทศจะพูดคุย ช่วยเหลือ แก้ปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ และการระบาดของยาเสพติด แต่ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาคณะกรรมการยังไม่เคยพูดคุยเรื่องความร่วมมือวางระบบทางการแพทย์ฉุกเฉิน ในการกู้ชีพ กู้ภัย เหตุการณ์ในครั้งนี้ถือเป็นความรุนแรงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในลาว การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงยังเป็นเรื่องใหม่เช่นกัน” นายสุทธินันท์ บอก นอกจากเรื่องการค้นหาศพและกู้ซากเครื่องบินแล้ว นายสุทธินันท์ได้ประสานให้สำนักงานสาธารณสุขเตรียมที่เก็บศพ เตรียมแพทย์ในการพิสูจน์อัตลักษณ์ผู้เสียชีวิต ประสานให้ความช่วยเหลือญาติที่มาติดต่อทั้งชาวไทยและต่างชาติในเรื่องการติดตามค้นหาศพ สำหรับศพที่เก็บกู้แล้วให้นำไปเก็บไว้ที่มูลนิธิจีเอี่ยวเกาะ เมืองปากเซ เพื่อนำมาพิสูจน์อัตลักษณ์ต่อไป ด้านปฏิบัติการค้นหา ทีมค้นหาจาก 4 จังหวัดออกเดินทางจากด่านช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 17 ตุลาคม จุดเกิดเหตุห่างจากด่านช่องเม็กประมาณ 45 กิโลเมตร วันแรกในการค้นหาประสบปัญหาขาดแคลนเรือ เนื่องจากพื้นที่เกิดเหตุต้องใช้เรือเท่านั้น ทำให้อาสาสมัครกว่า 100 คน ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ การลงพื้นที่เกิดเหตุพบว่า เครื่องบินชนกับต้นไม้บนดอนพะลิง ซึ่งเป็นเกาะกลางลำน้ำโขง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก จากนั้นเครื่องบินไถลตกลงไปในแม่น้ำโขง บริเวณเกาะกลางน้ำแห่งนี้ จึงพบเศษเครื่องบิน กระเป๋าผู้โดยสารและเศษชิ้นเนื้อ อีกอย่างสิ่งที่พบก็คือ กระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว มีสีขุ่น สภาพภูมิประเทศริมฝั่งลำน้ำโขงที่มีความลาดชัน รถเข้าไปไม่ถึง เป็นสภาพพื้นที่โดยรอบจุดเกิดเหตุ ที่ นายยศพล จันทนชาติ เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการค้นหาใต้น้ำ มูลนิธิการกุศลอุบลราชธานี จีตัมเกาะ ยอมรับว่า การทำงานต้องเอาชนะสภาพภูมิประเทศ สภาพอากาศเหล่านี้ "จากข้อมูลของเจ้าหน้าที่ทางการลาวระบุว่า นักบินจะนำเครื่องลงจอด 2 ครั้ง เมื่อสภาพอากาศเป็นปัญหาในการลงจอด นักบินจะต้องกำชับผู้โดยสารให้คาดเข็มขัดนิรภัยทุกคน นอกจากนี้ชิ้นส่วนของเครื่องบินที่พบส่วนใหญ่มีบางส่วนที่ลอยมาตามน้ำมีขนาดไม่ใหญ่ จึงเชื่อว่าในตัวเครื่องบินจะมีศพผู้โดยสารติดอยู่หลายราย “และทันทีที่เห็นพื้นที่เกิดเหตุ คิดว่าการทำงานในครั้งนี้ค่อนข้างลำบาก เพราะรถเข้าไม่ถึง การขนย้ายอุปกรณ์ดำน้ำ ชูชีพ เรือ และเครื่องปั่นไฟ จึงต้องขนแล้วเดินเข้าไป การดำน้ำจืดก็มีข้อจำกัดเนื่องจากน้ำเชี่ยวและขุ่น ทำให้นักประดาน้ำมองไม่เห็นใต้น้ำ จุดตกแต่ละจุดอยู่ห่างกัน จึงกินพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ยากต่อการจำกัดพิกัดที่แน่ชัดในการค้นหา" ยศพล เล่า นอกจากนี้ "ยศพล" ยังเล่าด้วยว่า มีหลายมูลนิธิจากภาคกลางของไทย พร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือ ติดต่อเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน ก็มีความสำคัญ โดย นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลกในการป้องกันอุบัติเหตุ กล่าวว่า แม้ประเทศไทย ยังคงต้องพัฒนาอีกมาก แต่ยังดีที่เรามีทั้งบุคลากรในการกู้ชีพ กู้ภัย บุคลากรการทางการแพทย์ สถานที่ อุปกรณ์ อยู่พอสมควร จึงพร้อมช่วยเหลือในครั้งนี้ ที่น่าสนใจไปกว่านั้น นัยว่า หลายประเทศเริ่มแจ้งความจำนงที่จะเข้าช่วยเหลือย่างมากแล้ว รวมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ก็กำลังถูกลำเลียงเข้าสู่พื้นที่ ที่สำคัญ หลายฝ่ายเริ่มคิดถึงการปฏิบัติการค้นหาที่มี "เอกภาพ" ไม่ต่างคนต่างทำอีกต่อไปแล้ว เหลือก็แต่รอลุ้นความสำเร็จที่จะตามมา และต่างก็เอาใจช่วยให้ทุกอย่างราบรื่นเท่านั้น
ชีวิตเสี่ยงตายเพื่อผู้ประสบภัยทางน้ำ
กว่า 18 ปี ที่ นายจักรกฤษณ์ วัฒนธีระ อาสาสมัครมูลนิธิขอนแก่นสามัคคีอุทิศ จ.ขอนแก่น ใช้เวลาฝึกฝนสั่งสมความชำนาญ ในชีวิตอาสาสมัคร โดยเฉพาะชุดปฏิบัติการทางน้ำ เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้ประสบภัย และตัวอาสาสมัครเอง "จักรกฤษณ์" เล่าว่า การฝึกปฏิบัติการชุดค้นหาใต้น้ำจะต้องเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการฝึกจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 เป็นขั้นพื้นฐานที่อาสาสมัครจะเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ในการดำน้ำ การถอดและประกอบอุปกรณ์ การดูแลรักษาความปลอดภัยใต้น้ำให้กับอาสาสมัครเอง ในระดับความลึก 8-15 เมตร ใช้เวลาในการเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ 3 วัน แต่ก็ยังไม่สามารถลงน้ำไปปฏิบัติหน้าที่ได้ ระดับที่ 2 ขั้นก้าวหน้า จะลงน้ำฝึกที่ระดับความลึก 18-30 เมตร โดยจะฝึกการดำน้ำลึก การใช้อากาศใต้น้ำ การใช้เข็มทิศ เรียนรู้เรื่องระดับความลึกและแรงกดของน้ำ ระดับที่ 3 การฝึกทักษะนักค้นหาใต้น้ำ ซึ่งในระดับนี้จะมีระยะเวลาการฝึกที่นานขึ้น เพิ่มทักษะการช่วยเหลือช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ทั้งผู้ประสบภัย และอาสาสมัคร เรียนรู้สภาพความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ ทักษะการค้นหาใต้น้ำ ซึ่งในระดับน้ำต้องนำทักษะการฝึกตั้งแต่ขึ้นพื้นฐานมาใช้ทั้งหมด “นอกจากนี้ยังเข้ารับการอบรมฝึกหลักสูตรกู้ภัยทางน้ำ กับตำรวจน้ำ และทหารเรือ มีระยะเวลาในการฝึก 25 วัน เน้นเรื่องการกู้ภัย กู้ชีพทางน้ำ เมื่อผ่านทุกหลักสูตรแล้ว อาสาสมัครจะมีในรับรองการดำน้ำได้ทั่วโลก” การเป็นอาสาสมัครชุดปฏิบัติการค้นหาทางน้ำ จึงถือเป็นภารกิจที่ท้าทายอาสาสมัคร หากไม่พร้อมก็ไม่สามารถทำงานและดูแลชีวิตผู้ประสบเหตุได้
.................