Pasalao

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ຄວາມຫມາຍຂອງ​ຄໍາວ່າແກວຈາກປະຫວັດສາດລ້ານນາ
ນັກວິຊາແກວ

Date:
ຄວາມຫມາຍຂອງ​ຄໍາວ່າແກວຈາກປະຫວັດສາດລ້ານນາ


เมื่อก่อนชนชาติไทยยังมิได้อพยพมานั้น ถิ่นประเทศข้างทิศใต้นี้ เปนที่อยู่แห่งชนชาติทรวิฬฤาทรวิเดียนเนื่องเปนอันเดียว กันกับชาวฮินดูข้างทิศใต้ (พังคละ) ซึ่งชาวฮินดูข้างเหนือย่อมเรียกว่าแทตย อสุร ยักษ์ รากษษ

พวกจีนเรียก กุ้ย ก้อ กวย แกว กาว แปลว่ายักษ์ฤาผี แลเรียกพวกชาติป่าเขาอิกเหล่าหนึ่ง ว่าแม้ว, หม่อย, เมง, เมือง, แมน, คือพวกกุลาเรียน, พาระ, พิระ, พิรุปักข, มิละ, มิลุ, พิลุ, ในภาษาฮินดู

พวกอาริยฤาไทยผู้อพยพลงมาจากทิศเหนือ ย่อมถือว่าพวกเดิมนี้เปนพวกดำ คือพวกที่มีการงานหยาบ แลมีกำเนิดจากสัตว แลต้นไม้มีชาติต่ำ จึงได้เรียกประเทศนี้ว่าประเทศดำฤามืด

คือคำว่า สาม สยาม เสียม เซียม เชียง ชาน แล เจือง จาม แลคำว่า ขอม แขก เขิน เขม เขมา แขม เขมร ขมุ เหล่านี้รวมความแปลว่าดำ คือคนชาติดำฤาประเทศของคนชาติดำ คือคนเดิมดัง กล่าวมานั้น คำว่าขอมนั้นในตำนานเก่า ๆ เมื่อออกนามขอมก็ย่อมมีคุณศัพท์ว่าขอมดำ เพราะคำว่าขอมดำนี้แลภายหลัง ๆ มาจึ่งกลายเปนขอมดำดินไป

พวกชาติดำที่สมมุติเรียกว่า ขอม แขก จาม เหล่านี้ แต่โบราณกาลย่อมถือลัทธิต่าง ๆ อย่างฮินดู มีสาสนาอินทรพรหมเปนต้น แลตั้งชาติตระกูลเปนกัมโพชะ กุรุ ปุรุพาร มรัมมะต่าง ๆตามอย่างฮินดูเปนเดิมมา (คือ มอญ เขมร แล ข่า ส่วย ต่าง ๆ ซึ่ง มีภาษาคล้าย ๆ กัน)

แต่ชนชาติไทยแลคำว่าไทยนี้ ได้อพยพลงมาจากทิศเหนืออย่างเดียวกับพวกอาริยะอพยพแผ่ลงมาในฮินดูสถาน (ภาคภาษามีจีนเก่าโดยมาก)

คำว่า ไทย ไท ไต ตรงกับคำว่า ทยุ เทวะ เทวตะ แปลว่า สว่าง ขาวส่วนฟ้าพระอาทิตย์ ในภาษาสังสกฤตเรียกพระอาทิตย์ว่าทยุแลเรียกพวกอาริยว่าทยุด้วย พระนามพระเจ้าสมันตราช คือ ปะโรราชนั้นได้มีว่าทัศไทย มีถ้อยคำที่กล่าวออกนามไทยในเรื่อง พวกอาริยลงมาชะนะฮินดู ที่นักปราชญ์ชาวยุโรปได้แปลเปนภาษาอังกฤษหลายเรื่อง

คำว่าไทไตที่มาในภาคภาษาจีนคือ 大 ไต 太 ไท แปลว่าเปนใหญ่ ออกจากอักษร 天 เทียน แปลว่าฟ้า คือความสว่างฤาส่วนที่ขาวบริสุทธิใสสอาด ซึ่งแบ่งออกจากส่วนมืดฤาดำ อักษร 地 ที้ คือดินซึ่งภาษาไทยว่าที่

คำว่าเทียนนี้มาในภาษาลาวว่า แถน, ทาน, คำว่า เทียน ไท ไต จึงเปนคำใช้เรียกดวงประทีปว่า ดวงเทียน ดวงไต้ แลใช้คำว่า ท่าน เที้ยน ไท้ ไท เธอ แทนนามเทวดาแลกษัตริย์แลสมณพราหมณาจาริย์ แลในสิ่งซึ่งเปนใหญ่เช่นเดียวกับคำว่า ทิวะ ทิพ เทวะ, อรรค, ปรม, วร, มหา, เหล่านี้

ในภาษาจีนใช้เปนคำนำนามผู้เปนใหญ่ เช่นคำว่า ฮ่องไทตี้ ฮ่องไทเฮ้า ไทเซียงฮอง ไทจื้อ เหล่านี้เปนต้น

ในภาษาไทยใช้เรียกเทวดา แลกษัตริย์ว่าเทพไท ท้าวไทท่านไท เรียกพระเถรผู้ทรงศีลาธิคุรว่าเจ้าไท เรียกอิสตรีที่มีศักดิ และมารยาตรว่า อ่อนไทย อรไทย เรียกทิศแรกสว่างว่า ทิศอุไทย เรียกไม้นิโครธที่เปนเทวพฤกษของพวกพราหมณ์ว่าไม้ไทร คือไทย เรียกทองคำที่สุกบริสุทธิ์ว่าคำใต้ เรียกผู้มีอิศรภาพแก่ตนเองว่าเปนไทย คือพ้นจากมืด คำว่าไทยจึงแปลว่าสว่างสุกใส

ชาติไทยได้แผ่อาณาเขตรลงมาทางปลายน้ำของ, สาลวิล อิราวดี พรหมาบุตรา ดุจดังชาวอาริย แผ่ลงมาทางปลายน้ำสินธุในมัชฌิมประเทศนั้น ลงมาตั้งประเทศเลาชัว (老撾) คือลาวหลวงพระบาง แล้วแผ่มายุนชาง (越裳) ฤายวนเชียง คือลาวเฉียง แลไปอี (擺夷) ไทยใหญ่

มหานทีอันเปนที่ตั้งคามเขตรนครของไทย สืบมาแต่โบราณ นั้น คือ (๑) แม่น้ำอจีรวดีฤาอิราวดี (๒) แม่น้ำสิตังฤาสโตง (๓) แม่น้ำสาลวิล (สาลวารี) แม่น้ำคงแม่น้ำเขียวก็เรียก น้ำสามแม่นี้ตอนปลายฝ่ายเหนือเปนถิ่นประเทศไทยใหญ่ซึ่งจีนเรียกไป๋อี้ ตอนกลางเปนภุกามประเทศ ตอนปากน้ำแลท่าทเลเปนรามัญประเทศ(๔) แม่น้ำระมิงค์ พิงค์ มาแต่คำว่ามิงค์เมงค์ คือเปนถีนของ พวกเมงค์บุต (คล้ายมอญ) ซึ่งยังมีพืชน์พันธุ์ อยู่ บัดนี้เปลี่ยนเรียกว่ายาง คือยางขาวยางลายยางแดงยางกระเลอยางซวยกระบางแลอื่น ๆ มีสำเนียงลม้ายคล้ายกันกับมอญ ที่ ๕ แม่น้ำไคร้ จีนเรียก เกียวลุงเกียง (แกวหลวงกรุง) แปลว่าแม่น้ำมหายักษ ภายหลังเรียกลาวชัวเกียง (ลาวชวากรุง) แม่น้ำแห่งเมืองลาวชวาคือ นครหลวงพระบาง ที่เรียกเมืองชวาบ้างซัวบ้างเซ่าบ้าง คำว่าลาวชวานี้ที่กลายมาเปนลานช้าง แต่หาใช่มีช้างตั้งล้านไม่ แม่น้ำนี้ ไทยเรียกแม่น้ำของ คือขอม เพราะเปนแม่น้ำใหญ่ในแดนขอมดำแต่ชาวข้างใต้เรียกเปนโขงนั้นเรียกตามชื่อเกาะใหญ่เหนือลีผีซึ่งเปนที่ตั้งเมืองสีทันดร มีนามว่าดอนโขง เหตุเปนที่ไว้โขลงช้างของพวกส่วยช้างทั้ง ๖ แต่ก่อน แม่น้ำโขงฤาของนี้ตอนปลายฝ่ายเหนือไหลมาแต่ประเทศจีนต่อธิเบตมาแต่แนวเขาเดียวกันกับแม่น้ำสาลวิลแลแยงซี แต่น้ำโขงไหลมาแต่ทิศใต้ในประเทศฮุนหนำเชียงรุ้งซึ่งเปนถิ่น พวก โล้ ลื้อ ลัวะ ลาว แปลว่าชาติเก่าแก่ (๖) แม่น้ำทรงก๊าย จีนเรียกยุนเกียง ฮองเกียง (ฮวนกรุงแม่น้ำต่างประเทศ) สาขาฤาแควแยกแม่น้ำนี้ยวนเรียกทรงแดง (น้ำดำ) ไทลาวเรียกน้ำแท้ แม่ม่วงก็เรียก ประเทศลาวพวกนั้นในตำนานเชียงแสนเรียก จุฬนีนคร

ภาคภาษาของชนชาติเดิมนั้น แม้ว่ามีนามต่างกันเช่น มอญ เขมร ข่า ส่วย กวย ของแลอื่น ๆ เปนอันมากก็ดีแต่ใช้คำพูดแลวิธีอย่างเดียวกันเพี้ยนแต่สำเนียง ดังคำที่นับเลข ๑, ๒, ๓ , ๔, มอญว่า ม่วย บา ไป๋ ปอน เขมรว่า มอย ปี ใบ บวน ข่าต่าง ๆ นอกจากจรายกับระแด นับว่า มุย ปา ไป โปน, มุย เบอ แปปวน, โมน เปือ เปง ปรวน, ยวน นับว่า โมก ฮาย บา โบ๊ง ใกล้ ๆ กัน แต่พวกข่าจรายกับระแดนั้นเปนชาติอพยพมาจากเกาะชวามลายู นับว่า ซา ตวา เตา ปา มา นำ ชจุ ชปันตลาปัน สปลุ ถึงคำพูดอื่น ๆ ก็คล้ายชวามลายู แต่ไทยใหญ่แล ลาวนับอย่างจีนคืออ้ายยี่สาม ไส ฤา หนึ่ง สอง สาม สี่ ถึงคำพูดอื่น ๆ ก็เปนจีนภาคโดยมาก เช่นคำว่า “หนังสือ” สือ ตัวนี้คืออักษร 士 เด็กนักเรียน เรียก 士子 สือจอ (ลูกหนังสือ) ตำแหน่งยศ

หลวง มาแต่ 王 อ๋อง
ขุน มาแต่ 軍 กุ๋น
ท้าว มาแต่ 道 เท้า
เจ้า มาแต่ 州 เจา จูเฮา
 
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87_%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3_(%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84)


__________________
Anonymous

Date:
RE: ຄວາມຫມາຍຂອງ​ຄໍາວ່າແກວຈາກປະຫວັດສາດລ້ານນາ


If people understand Sip Song Pun Na Lue, they're still calling Meo, not Hmong like lao in LAOS.

Anybody know that ? Southern China have never call Hmong



__________________
Anonymous

Date:

ປະວັດສາດເປັນມາແນວໃດບໍ່ກ່ຽວຮູ້ພຽງວ່າແກວເປັນຄົນທີ່ໄຮ້ນ້ຳໃຈ ໄຮ້ຢາງອາຍ ເປັນຄົນເຫັນແກ່ຕົວ...

ຈົບເລື່ອງແກວ! 



__________________
Page 1 of 1  sorted by
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard