. ASTVผู้จัดการออนไลน์ - แขวงสะหวันนะเขตกับธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้จัดเผยแพร่กฎหมายเกี่ยวกับการใช้เงินกีบ และรณรงค์กวดขันการใช้เงินสกุลท้องถิ่นของลาว ซึ่งรวมทั้งการปฏิบัติกฎระเบียบการพกพาเงินสกุลต่างชาติเข้าออกลาวอย่างเข้มงวด ซึ่งผู้กระทำผิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีโทษปรับสูงถึง 500,000 กีบ ดร.คำเผย ผันทะจอน รองเจ้าแขวงสะหวันนะเขต เป็นประธานในการจัดเผยแพร่กฎหมายสองฉบับสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีบรรดาเจ้าเมือง (นายอำเภอ) ทุกอำเภอเข้าร่วมด้วย การรณรงค์กวดขันใช้เงินกีบจะดำเนินไปในทั่วแขวง สำนักข่าวสารปะเทดลาวกล่าว กฎหมายลาวได้กำหนดว่า “บุคคล นิติบุคคล ไม่มีสิทธิจ่าย-รับเงินตราต่างประเทศโดยตรงเพื่อชำระค่าสินค้า, บริการ หรือชำระหนี้สินในดินแดนของ สปป.ลาว” นอกจากนั้น “การติดประกาศราคาสินค้า รวมทั้งการปฏิบัติตามพันธะต่างๆ ต่อรัฐ” จะต้องใช้เงินกีบ ยกเว้นกรณีที่ได้รับอนุญาตตามการเสนอของธนาคารแห่ง สปป.ลาว เท่านั้น การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างชาติใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารกลางเช่นกัน หมายความว่า ในชีวิตประจำวันของทุกคน ทั้งพลเมืองลาว และชาวต่างชาติที่เดินทางไปยังประเทศนี้ จะต้องใช้เงินกีบในการดำเนินการทุกอย่าง เอกชนลาวจะต้องติดราคาสินค้าทุกชนิดเป็นเงินสกุลกีบ และซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินกีบเท่านั้น กฎหมายยังกำหนดให้ชาวลาว และชาวต่างชาติสามารถนำเงินออกนอกประเทศได้ไม่เกินครั้งละ 20 ล้านกีบ (อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารการค้าต่างประเทศลาว วันอังคาร 7 ก.ค.2555 = 255.45 กีบ/บาท) หากจำเป็น จะต้องขนย้ายข้ามแดนมากกว่าจำนวนดังกล่าวจะต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่ง สปป.ลาว แต่ในขณะเดียวกัน กฎหมายอนุญาตให้ผู้ที่เดินทางเข้าลาว สามารถนำเงินตราต่างประเทศ หรือวัตถุมีค่าเข้าลาวได้โดยไม่จำกัดจำนวน แต่ถ้าหากมีมูลค่าเทียบเท่า 100 ล้านกีบขึ้นไป จะต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ด่านผ่านแดนทุกครั้ง สำหรับผู้ที่ละเมิดต่อกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ หากเป็นการกระทำความผิดครั้งแรก ที่มีลักษณะไม่รุนแรง หรือกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะถูกว่ากล่าวตักเตือน แต่ถ้าหากกระทำผิดซ้ำอีก จะถูกปรับไม่เกิน 500,000 กีบ สำนักข่าวของทางการกล่าว กฎหมายยังกำหนดห้ามขีดข่วน ทำเครื่องหมาย หรือทาสีลงบนธนบัตรเงินกีบของลาวอีกด้วย ตลอดเวลาที่ผ่านมา ในลาวนั้นสามารถใช้เงินบาทกับเงินดอลลาร์ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ ร้านค้าขนาดใหญ่บางแห่งรับเงินยูโรเช่นกัน และแม้ว่าทางการจะได้รณรงค์ให้ใช้เงินกีบ แต่ในช่วงหลายปีมานี้ ชาวลาวจำนวนหนึ่งก็ยังยอมรับเงินสกุลต่างชาติในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการในชีวิตประจำวัน ลาวซึ่งเศรษฐกิจยังมีขนาดเล็ก แต่การลงทุนของต่างประเทศสูงขึ้นทุกปี มีความหวาดวิตกต่อเสถียรภาพของค่าเงินสกุลท้องถิ่น และจัดรณรงค์เรื่องนี้มาตั้งแต่ช่วงปี 2549-2550 จนกระทั่งสภาแห่งชาติได้ลงมติผ่านรัฐบัญญัติออกมาใช้บังคับเกี่ยวกับเรื่องนี้ถึง 2 ฉบับ เมื่อปีที่แล้ว การออกรณรงค์ในแขวงสะหวันนะเขต จังหวัดที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุด และพลเมืองมากที่สุดในประเทศ ยังมีขึ้นหลังจากที่มีการแถลงตัวเลขว่า ปีนี้มีผู้สัญจรข้ามสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เข้าลาวเพิ่มขึ้นเป็นวันละกว่า 3,000 คน รถยนต์ส่วนตัว และรถบรรทุกสินค้าที่ใช้บริการข้ามสะพาน ก็มีจำนวนมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งทำให้การเดินทางท่องเที่ยวภายในในแขวงนี้มีความคึกคักยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่.
ຊົມເຊີຍເດີ ສປປລ ຄວນຈະອອກກົດລະລຽບແບບນີ້ແຕ່ນານແລ້ວ
ແລະບໍ່ຄວນປັບໃໝລົງໂທດແຕ່ຊາວຕ່າງດ້າວເດີ ເຊີນ ລົງໂທດ
ພະຍາລາວນຳແດ່ຖ້າຫາກ ພະຍາລາວຍັງຮັບເອົາເງີນສະກຸນຕ່າງຊາດ
ຂໍຊົມເຊີຍເຈົ້າໜ້າທີ່ໆກ່ຽວຂ້ອງທີ່ເອົາໃຈໃສ່ປະຕິບັດໜ້າທີ່ຢ່າງເຂັ້ມງວດກວດຂັນ
ເພື່ອເຮັດໃຫ້ບ້າມເມືອງມີຄວາມເປັນຣະບຽບຮຽບຮ້ອຍ, ຖ້າຢາກໃຫ້ດີແທ້ກໍ່ຄວນ
ເຄັ່ງຄັດກັບບຸກຄົນທີ່ໃຊ້ຢ໊ວນແລະດົ໊ງເໝືອນກັນ.
ເຮັດປ້າຍປະກາດແບບນີ້ສະແດງວ່າຄົນຢູ່ບ້ານເຮົາບໍ່ນິຍົມໃຊ້ເງິນກີບ
ປະເທດເພື່ອນບ້ານເຂົາໄດ້ສິ້ນເປືອງເງິນງົບປະມານແຫ່ງຊາດມາເຮັດ
ປ້າຍໂຄສະນາໃຫ້ຄົນໃນປະເທດຫັນມາໃຊ້ສະກຸນເງິນຊາດເຂົາຢູ່ເບ໊າະ?