Pasalao

Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: การประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 ไทย - ลาว เป็นไปอย่างชื่นมื่น
Anonymous

Date:
การประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 ไทย - ลาว เป็นไปอย่างชื่นมื่น


นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีแห่งสปป.ลาว นำคณะรัฐมนตรีสำคัญทั้งสองประเทศ เข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 เน้นย้ำความสัมพันธ์อันใกล้ชิดในฐานะประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและมีพัฒนาการความร่วมมือที่ดีในทุกมิติและทุกระดับ

 

 

วันนี้ (19 พ.ค.2556) เวลา 10.00 น. ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน จังหวัดเชียงใหม่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีแห่งสปป.ลาว พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีสำคัญทั้งสองประเทศ เข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-ลาวอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 2 หรือ The 2nd Thai – Lao Joint Cabinet Retreat เพื่อร่วมกันหารือในประเด็นสำคัญ และเร่งรัดให้เกิดความคืบหน้า พร้อมทั้งสานความร่วมมือให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้บรรยากาศของความใกล้ชิด จริงใจ และเต็มไปด้วยไมตรีจิตที่ดีต่อกัน

 

คณะรัฐมนตรีฝ่ายไทย ประกอบด้วย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รตอ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

คณะรัฐมนตรีฝ่ายสปป.ลาว ประกอบด้วย นายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรี นายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันความสงบ รัฐมนตรีหัวหน้าห้องว่าการรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ และรัฐมนตรีช่วยว่าการแรงงานและสวัสดิการสังคม

ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในประเด็นความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม สรุปดังนี้ ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงได้มีการปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ได้แก่ (1) การรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน โดยจะร่วมมือตรวจตราสอดส่องและป้องกันการกระทำของกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่ออีกประเทศ หากพบเบาะแส หน่วยงานความมั่นคงจะแจ้งและประสานงานอย่างรวดเร็ว โยไทยยืนยันนโยบายไม่ให้บุคคลใดใช้ประเทศไทยเป็นที่พักพิงหรือวางแผนก่อความไม่สงบหรือต่อต้านรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน (2)ความร่วมมือในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันเร่งรัดการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว (3) การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยจะมีการยกระดับความร่วมมือในการป้องกันปัญหายาเสพติด ปราบปรามและนำส่งผู้กระทำความผิดและผู้หลบหนีการจับกุมลงโทษคดียาเสพติด โดยเห็นควรใช้ช่องทางติดต่อที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสั่งการได้อย่างรวดเร็ว (4) ความร่วมมือด้านแรงงานและการป้องกันการค้ามนุษย์ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือร่วมมือป้องกันและปราบปรามการล่อลวงเด็กและสตรีเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์

โดยฝ่ายไทยแสดงความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาแรงงานลาวผิดกฎหมายที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย และพร้อมอำนวยความสะดวกเรื่องการนำเข้าแรงงานลาวที่ถูกกฎหมายตามบันทึกความเข้าใจด้านการจ้างแรงงานไทย – ลาว โดยคณะรัฐมนตรีไทยมีมติขยายเวลาดำเนินการของศูนย์ One Stop Service เพื่อให้การพิสูจน์สัญชาติแรงงานลาวไปอีก 120 วัน นับตั้งแต่ 14 เมษายน 2556 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจทั้งสองฝ่ายได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้า (5) การอำนวยความสะดวกในการผ่านแดนโดยเฉพาะการดำเนินการเรื่องการตรวจปล่อยสินค้า ณ จุดเดียว หรือSingle Stop Inspection (SSI) และปรับปรุงพื้นที่จุดผ่านแดนและเส้นทางคมนาคมที่ต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการเดินทางผ่านแดนและความแออัดของการสัญจรบริเวณจุดผ่านแดนสำคัญ (6) การส่งเสริมการค้าไทย-ลาว ซึ่งฝ่ายไทยพร้อมส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อช่วยสร้างรายได้ของประชาชน สปป.ลาว และเพื่อประโยชน์ร่วมกันของไทยและลาว (7) การใช้ประโยชน์จากเส้นทางถนนหมายเลย 8 และ 12ในเป็นเส้นทางเชื่องโยงทางโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาค และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนตามแนวเส้นทางทั้งสอง โดยฝ่ายไทยพร้อมส่งเสริมภาคเอกชนไทยให้ไปลงทุนบริเวณเส้นทางดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม และฝ่ายลาวจะอำนวยความสะดวกและปรับปรุงการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้เส้นทางให้ได้มาตรฐาน ในส่วนของการท่องเที่ยว

 

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการพัฒนาความเชื่อมโยง (Connectivity)ด้านการคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาค และระหว่างไทย – ลาว – จีน เช่น การสร้างสะพานเชื่อมต่อทางรถไฟ (หนองคาย – ท่านาแล้ง) เพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมโยงกับทางรถไฟความเร็วสูงกับจีน ตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North – South Economic Corridor)และการประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว2 แห่ง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันนี้ (19 พ.ค.2556) ได้แก่ จุดผ่านแดนภูดู่ จ.อุตรดิตถ์ โดยในส่วนของฝ่ายลาวจะยกระดับด่านท้องถิ่นบ้านผาแก้ว เมืองปากลาย แขวงไซยะบุรี เป็นด่านสากลเมื่อการก่อสร้างเส้นทางบ้านผาแก้ว – ปากลายแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2557 และจุดผ่านแดนบ้านสบรวก จ.เชียงราย ซึ่งฝ่ายลาวได้เปิดด่านสากลสามเหลี่ยมทองคำ แขวงบ่อแก้ว ไปเมื่อเดือนก.ค.ปี 2555 ที่ผ่านมานอกจากนี้ ยังได้มีการหารือในด้านการท่องเที่ยว โดยฝ่ายไทย สนับสนุน (8) ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว จะร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค และเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวไปมาระหว่างไทยและลาว รวมทั้ง สนับสนุนการใช้ ACMECS Single Visa หรือ ASVเพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ในภูมิภาคและอาเซียน ซึ่งไทยและกัมพูชาได้เริ่มโครงการนำร่องก่อนหน้านี้แล้ว

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้แสดงความยินดีที่ปี 2556 เป็นปีแห่งการฉลองครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งสมาคมไทย – ลาว/ลาว – ไทย เพื่อมิตรภาพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน สังคมและวัฒนธรรมและมีคุณูปการสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ในโอกาสนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาการลงนามเอกสาร 3 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการไทย-ลาว ครั้งที่ 2 บันทึกความเข้าใจว่าความร่วมมือด้านการเกษตรไทย-ลาว และ ความตกลงว่าด้วยกรรมสิทธิ์ การนำใช้ การบริหาร และการบูรณรักษาสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย)



__________________
Anonymous

Date:
RE: การประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 ไทย - ลาว เป็นไปอย่างชื่นมื่น


ຊ່ອຍອະທິບາຍຄວາມໝາຍຂອງຄໍາວ່າຊື່ນມື່ນໃຫ້ຮູ້ນໍາແດ່ວ່າມີຄວາມໝາຍແນວໃດ?

ຂອບໃຈ



__________________
Anonymous

Date:

ຜູ້ຂ້າກໍ່ສົນໃຈຢູ່ເໝືອນກັນເປັນຫຍັງນັກຂ່າວໄທຈື່ງໃຊ້ຄຳວ່າ: ຊືນມືນ

ທ່ານໃດເຂົາໃຈຄຳສັບນີ້ຊ່ວຍອະທິບາຍໃຫ້ຟັງແດ່ວ່າມີຄວາມໝາຍແນວໃດ?

ຈະຄືສັບພາສາລາວຫລືບໍ່? ຖ້າເປັນຄວາມໝາຍໃນພາສາລາວແລ້ວແມ່ນບໍ່

ສຸພາບແລ້ວ ຊືນມືນ = ໜ້າມືນ, ຊູຊີ, ໜ້າດ້ານບໍ່ອາຍ

ຖ້າທຽບໃສ່ຜູ້ໃຫຍ່ເວົ້າໃຫ້ເດັກນ້ອຍ ກໍ່ໝາຍເຖີງ ເດັກນ້ອຍທີ່ດື້ດ້ານ ບໍ່ຟັງຄວາມ ນັ້ນເອງ

 



__________________
Anonymous

Date:

ຊື່ນ=ບໍ່ງ້ວງເຫງົາ, ເບີກບານ.....

ມື່ນ= ບໍ່ຂ້ອງຄາ, ເລື່ອນໄຫລດີ ເອົາສອງຄຳນີ້ມາເຊື່ອມກັນກໍມີຄວາມໝາຍເຖິງບັນຍາກາດທີ່ດີ

- ຖ້າເປັນນັກຂ່າວລາວຂຽນກໍແມ່ນ...ດ້ວຍບັນຍາກາດຄວາມເຂົ້າອົກເຂົ້າໃຈກັນດີ



__________________
Anonymous

Date:

"ชื่นมื่น" หมายถึง/ความหมาย

 
ชื่นมื่น : ก. ชื่นบาน เช่น ท้าวสามนต์ฟังถ้อยค่อยชื่นมื่น. (สังข์ทอง). 


__________________
Page 1 of 1  sorted by
Quick Reply

Please log in to post quick replies.



Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard